ข่าวสารเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมชีวภาพ

Carbon Polymerizing System เป็นผลงานจากทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลคว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศของการแข่งขัน James Dyson Award ในปีนี้ โดยผลงานนี้คือระบบการผลิตพลาสติกชีวภาพจากคาร์บอนแบบอัตโนมัติที่มุ่งแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอันเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากขยะอาหาร โดยทีมผู้คิดค้น Carbon Polymerizing System จะเป็นตัวแทนประแทนไทยพร้อมทีมรองชนะเลิศอีก 2 ทีมในการแข่งขันระดับนานาชาติต่อไป

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นำโดย ผศ.ดร.เยี่ยมพล นัครามนตรี ได้พัฒนา “บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายทางชีวภาพจากแป้งเทอร์โมพลาสติก” โดยใช้แป้งมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากในประเทศ ร่วมกับการผสมวัตถุดิบธรรมชาติอื่นๆ เพื่อแก้ไขจุดอ่อนของแป้งมัน เช่น ความแข็งและความเปราะ พร้อมลดต้นทุนการผลิต กระบวนการวิจัยเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแป้งมันสำปะหลังให้กลายเป็น แป้งเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช (Thermoplastic Starch, TPS) ซึ่งสามารถนำไปผสมกับพอลิเมอร์ชีวภาพจากธรรมชาติ เพื่อแก้จุดบกพร่องของแป้งมันซึ่งส่วนประกอบที่เป็นส่วนผสม ล้วนเป็น Food Grade (นำมาใช้ใส่อาหารได้) จากธรรมชาติ 100% ผ่านการทดสอบและเปรียบเทียบการใช้งานกับบรรจุภัณฑ์ทั่วไป ใช้เวลาศึกษาวิจัย 3 ปีจนมีศักยภาพที่จะผลิตได้ในเชิงพาณิชย์ (TRL9) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจดอนุสิทธิบัตร... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :

GGC จับมือ PSP ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ EnPAT พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืนแห่งอนาคต พร้อมลุยผลิตสู่เชิงพาณิชย์ ใช้วัตถุดิบชีวภาพจากปาล์มน้ำมัน

วารสาร ACS Sustainable Chemistry & Engineering รายงานว่า โฟมที่มีส่วนประกอบของเซลลูโลสไดอะซิเตต (CDA) ซึ่งผลิตจากวัสดุ Aventa™ ของบริษัท Eastman (เมือง Kingsport, รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา) สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้อย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมทางทะเล ซึ่งพบว่าหลังจากแช่น้ำทะเลนาน 36 สัปดาห์ มวลหายไปประมาณร้อยละ 65-70 ย่อยสลายเร็วกว่ากระดาษ

สเปน ออกมาตรการเข้มด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม เริ่มบังคับใช้ 1 ม.ค. 2568 โดยบรรจุภัณฑ์ที่จะวางจำหน่ายในตลาดจะต้องประกอบด้วยฉลากพร้อมสัญลักษณ์การแยกขยะที่ชัดเจนกำหนดประเภทขยะที่ถูกทิ้งในถังขยะภาชนะ 4 สี

นักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่น นำทีมโดย ทาคุโซ ไอดะ จาก RIKEN Center for Emergent Matter Science ได้พัฒนาพลาสติกที่มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย และที่สำคัญสามารถย่อยสลายอย่างสมบูรณ์ได้ในน้ำทะเซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะไมโครพลาสติกในมหาสมุทร

Polytives (Rudolstadt, Germany) ประกาศความร่วมมือกับกลุ่มบริษัท Holzmühle Westerkamp (Visbek, Germany) ในการพัฒนาคอมโพสิตโพลีเมอร์ชีวภาพ ภายใต้แบรนด์ Arweco ซึ่งผลิตวัสดุพลาสติกชีวภาพจากเส้นใยธรรมชาติ

Braskem และ TNO ร่วมมือกันในโครงการรีไซเคิล
Sources: bioplasticsmagazine
Date: 14 สิงหาคม 2567 10:42:15
107 Views
Braskem ได้ประกาศความร่วมมือกับ TNO เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลพลาสติกที่ใช้การละลาย ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการรีไซเคิลของพลาสติกและทำให้สามารถผลิตเรซินพลาสติกที่มีคุณภาพสูง โครงการนี้มุ่งเป้าหมายในการลดมลพิษจากพลาสติกและส่งเสริมการรีไซเคิลอย่างยั่งยืน โดย Braskem และ TNO ตั้งใจที่จะสร้างนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและมีผลดีต่อสิ่งแวดล้อม

PLA toxicity meta-study key findings
Sources: bioplasticsmagazine
Date: 14 สิงหาคม 2567 10:42:06
80 Views
การศึกษา HYDRA Marine Sciences (Germany) พบว่า PLA หรือโพลีแลคติคแอซิดมีคุณสมบัติไฮโดรไลซิส ทำให้สลายตัวได้ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำ

ผลิตภัณฑ์เส้นใยคุณภาพสูงจากวัสดุ PCR
Sources: bioplasticsmagazine
Date: 14 สิงหาคม 2567 10:44:08
103 Views
PureCycle Technologies ประสบความสำเร็จในการทดลองผลิตสินค้ากับ MiniFIBERS และ Beverly Knits โดยใช้เรซินที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล (PCR) ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพสูงและเหมาะสมกับการใช้งานในหลายอุตสาหกรรม เช่น ของใช้ในบ้าน รถยนต์ อุตสาหกรรม และเสื้อผ้า

พื้น ‘สีเขียว’ แทนที่เหล็ก
Sources: bioplasticsmagazine
Date: 14 สิงหาคม 2567 10:41:54
83 Views
นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊คริจและมหาวิทยาลัยเมนได้ออกแบบและพิมพ์ 3 มิติแผ่นพื้นวัสดุธรรมชาติที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แผ่นพื้นมีความแข็งแรงพอที่จะแทนวัสดุก่อสร้างเช่นเหล็กได้

ทีมจากสถาบันวิจัยโพลิเมอร์ประยุกต์ Fraunhofer IAP ได้พัฒนาวัสดุฟิล์มพลาสติกยืดหยุ่นและนำกลับมาใช้ใหม่ได้จากพอลิแลคไทด์ (PLA) โดยการเชื่อมพลาสติไซเซอร์ polyethers กับสายโพลิเมอร์โดยตรง ทำให้วัสดุนี้ยืดหยุ่นในระยะยาวและเป็นชีวภาพอย่างน้อย 80%