งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
กุสุมาวดี ฐานเจริญ
การสร้างต้นไม้วิวัฒนาการ และการเปรียบเทียบความสามารถในการผลิต เอทานอลที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียสของเชื้อยีสต์ทนร้อนสายพันธุ์ RMU-RB16 และ RMU-RB17
การผลิตเอทานอลโดยการใช้ยีสต์ที่มีศักยภาพในการผลิตเอทานอลที่อุณหภูมิสูง ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้เชื้อยีสต์รหัส RMU-RB16 และ RMU-RB17 ที่คัดแยกจากกล้วยสุกเน่า และผ่านการทดสอบคุณสมบัติ ในการทนต่ออุณหภูมิสูง โดยเชื้อยีสต์รหัส RMU-RB16 สามารถทนต่ออุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส และ RMU-RB17 สามารถทนอุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ความสามารถในการผลิตเอทานอลในอาหาร สังเคราะห์ที่มีกลูโคสเป็นแหล่งคาร์บอน (น้้าตาลเริ่มต้น 180 กรัมต่อลิตร) สภาวะการทดลองที่พีเอช 5.5 และอัตราการเขย่า 120 รอบต่อนาที พบว่า เชื้อรหัส RMU-RB17 มีศักยภาพที่ดีกว่าในการผลิตเอทานอล ที่อุณหภูมิ 37 และ 40 องศาเซลเซียส โดยมีปริมาณเอทานอลเท่ากับ 22.40 (ผลได้ทางทฤษฎี 43.92%) และ 8.44 กรัมต่อลิตร (ผลได้ทางทฤษฎี 16.55%) ตามล้าดับ ผลการจัดจ้าแนกทางโมเลกุลโดยการวิเคราะห์ ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ D1/D2 ของ 26S rDNA แสดงให้เห็นว่า เชื้อยีสต์รหัส RMU-RB16 จัดจำแนก เป็ น Saccharomyces cerevisiae RMU-RB16 แ ล ะ RMU-RB17 จั ด จำแ น ก เป็ น Pichia kudriavzevii RMU-RB17 นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้จากการทดลองในครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่า เชื้อยีสต์ทั้ง 2 สายพันธุ์สามารถทนต่อน้ำตาล และเอทานอลได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นเชื้อตั้งต้นที่มีศักยภาพ ต่อการผลิตเอทานอลในระดับอุตสาหกรรม
2559