งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
สุนันท์ วิทิตสิริ
การเปรียบเทียบปริมาณเพกทิน จากซังขนุนหนังจำปากรอบ โดยการสกัดด้วยน้ำร้อนและความดันไอสูง
เพกทินเป็นสารพอลิแซกคาไรด์ที่มีอยู่ในพืชและผลไม้หลายชนิด เช่น กล้วย ขนุนและผักกาดขาว เป็นต้น ในงานวิจัยนี้ได้สกัดเพกทินจากซังขนุนหนังจำปากรอบ โดยใช้วิธีการสกัดเพกทิน 2 วิธี คือ ใช้น้ำร้อนและความดันไอสูง เพื่อเปรียบเทียบปริมาณเพกทินที่สกัดได้ พบว่า วิธีการสกัดด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที สามารถสกัดเพกทินจากซังขนุนหนังได้ 15.69% และวิธีการสกัดเพกทินด้วยความดันไอสูงที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที สามารถสกัดเพกทินจากซังขนุนหนังได้ 24.63% ซึ่งมากพออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) โดยใช้เวลา 60 นาที เมื่อทำการตรวจสอบสมบัติทางเคมีและกายภาพของเพกทินที่สกัดได้ โดยใช้ความดันไอสูงที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส พบว่า มีปริมาณความชื้นเท่ากับ 7.25% มีปริมาณเถ้า 3.85% น้ำหนักสมมูล 738.00 ปริมาณเมทอกซี 7.62% ระดับการเกิดเอสเทอร์ 57.77% ปริมาณกรดกาแลคทูโรนิค 319.61 มิลลิกรัม หรือ 85.67% ซึ่งมีค่าแตกต่างกับเพกทินทางการค้าอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นค่าระดับการเกิดเอสเทอร์
2557