หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
Home
Bio-chemicals
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ
read
ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)
ประเภทงานวิจัย :
งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
ประเภทงานอุตสาหกรรม :
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
ผู้แต่ง :
สาโรจน์ รอดคืน1 โชษณ ศรีเกตุ2 ชูทวีป ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา3
ชื่อเรื่อง (TH) :
สมบัติทางเคมีและชีวเคมีของกากงาขี้ม้อนสกัดน้ำมัน
ชื่อเรื่อง (EN) :
บทคัดย่อ (TH) :
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อตรวจสอบสมบัติทางเคมีและชีวเคมีของกากงาขี้ม้อนสกัดน้ำมัน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กากงาขี้ม้อนสกัดน้ำมันเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต (ร้อยละ 69.15) มีกรดอะมิโนที่จ้าเป็นสูงโดยเฉพาะไลซีน ฟีนิลอะลานิน ลิวซีน และฮีสทิดีน กากงาสกัดน้ำมันมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนและกรดไขมันโอเมก้า (โอเมก้า-3 -6 และ -9) ในปริมาณสูง นอกจากนี้ ยังมีฟอสฟอรัส แคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุหลัก จากรูปแบบโปรตีนแสดงให้เห็นว่าน้ำหนักโมเลกุลของโปรตีนในกากงาขี้ม้อนอยู่ในช่วง 14 61 กิโลดาลตัน กากงาขี้ม้อนสกัดน้ำมันมีปริมาณสารฟีนอลทั้งหมดและปริมาณ ฟลาโวนอยด์ทั้งหมดเท่ากับ 7.72 mg GAE/g น้ำหนักแห้ง (DW) และ 8.21 mg CE/g DW ตามล้าดับ และมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ โดยมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ DPPH เท่ากับร้อยละ 52.91 และมีค่า FRAP เท่ากับ 10.68 mmol Fe(II)/g DW ส่วนการยับยั้งการท้างานของเอนไซม์อัลฟ่า อะไมเลส พบว่า กากงาขี้ม้อนสกัดน้ำมันสามารถยับยั้งการท้างานของเอนไซม์อัลฟ่าอะไมเลสได้ อย่างไรก็ตาม พบว่า มีกิจกรรมยับยั้งเอนไซม์ทริปซินในปริมาณหนึ่ง จากผลการวิจัยเหล่านี้กากงาขี้ม้อนสกัดน้ำมันสามารถใช้เป็นแหล่งสารอาหารหรือเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพได้
บทคัดย่อ (EN) :
คำสำคัญ (TH) :
คำสำคัญ (EN) :
ปีที่พิมพ์ :
2561
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<
เอกสารแนบ :