หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
Home
Bio-chemicals
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ
read
ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)
ประเภทงานวิจัย :
งานวิจัยส่วนกลาง
ประเภทงานอุตสาหกรรม :
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
ผู้แต่ง :
Wanwisa Thawisaeng
ชื่อเรื่อง (TH) :
การสกัดแอล-ไลซีนจากสารละลายที่เหลือจากการตกผลึก โดยกระบวนการเยื่อแผ่นเหลวแบบอิมัลชัน
ชื่อเรื่อง (EN) :
บทคัดย่อ (TH) :
ทำการศึกษาสมดุลการสกัดของสารละลายแอล-ไลซีนสังเคราะห์และสารละลายแอล-ไลซีนจากสารละลายที่เหลือจากการตกผลึก ในภาวะที่มีความเข้มข้นของสารตัวพา (D2EHPA) แตกต่างกันที่อุณหภูมิห้องและความเร็วรอบในการกวน 420 รอบต่อนาทีเป็นเวลา 48 ชั่วโมง จากผลการทดลองพบว่าค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัวของสารละลายแอล-ไลซีนสังเคราะห์มีค่าสูงกว่าของสารละลายที่เหลือจากการตกผลึกและค่าทั้งสองยังแปรผันตามความเข้มข้นของสารตัวพาด้วย ค่าคงที่ในการสกัด (Kex) ของสารละลายแอล-ไลซีนสังเคราะห์และของสารละลายที่เหลือจากการตกผลึกมีค่าเท่ากับ 5.26x10-4 และ 4.72x10-5 ดม3/โมล ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าแอล-ไลซีน (Lys+) 1 โมลจะรวมกับ 1.2 โมล และ 2 โมลของกรดไดเอทีล-เฮกซิลฟอสฟอริกซึ่งอยู่ในรูปของโมโนเมอร์เกิดเป็นสารที่มีโมเลกุลซับซ้อน สำหรับสารละลายแอล-ไลซีนสังเคราะห์และสารละลายที่เหลือจากการตกผลึกตามลำดับ ได้ทำการศึกษาการสกัดแอล-ไลซีนจากสารละลายที่เหลือจากการตกผลึกโดยกระบวนการเยื่อแผ่นเหลวแบบอิมัลชันชนิดอาศัยสารตัวพาแบบไม่ต่อเนื่อง โดยวัฏภาคเยื่อประกอบด้วยกรดไดเอทีล-เฮกซิลฟอสฟอริกเป็นสารตัวพา, สแปน 80 เป็นสารลดแรงตึงผิวซึ่งละลายในตัวทำละลายโดเดเคน และมีสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเป็นวัฏภาคภายใน ได้ทำการศึกษาผลกระทบของภาวะต่างๆ จากผลการทดลองพบว่าภาวะที่เหมาะสมในการสกัดคือ ความเป็นกรดด่างของวัฏภาคภายนอกเท่ากับ 5, ความเข้มข้นของวัฏภาคภายในเท่ากับ 2 นอร์มัล, ความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิวเท่ากับ 1 เปอร์เซนต์โดยปริมาตร, ความเข้มข้นของสารตัวพาเท่ากับ 10 เปอร์เซนต์โดยปริมาตร, อัตราระหว่างวัฏภาคเยื่อและวัฏภาคภายนอกเท่ากับ 1:2 และความเร็วในการกวนเท่ากับ 360 รอบต่อนาที ที่สภาวะนี้มีค่าเปอร์เซนต์ในการสกัดเริ่มต้นภายในเวลา 1 นาทีเท่ากับ 20 เปอร์เซนต์ นอกจากนี้แบบจำลองที่ใช้ทำนายอิทธิพลของความเข้มข้นของสารตัวพาต่ออัตราการสกัดยังได้แสดงไว้ในงานวิจัยนี้ด้วย
บทคัดย่อ (EN) :
คำสำคัญ (TH) :
คำสำคัญ (EN) :
ปีที่พิมพ์ :
-
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<