หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยส่วนภูมิภาค
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัยจากส่วนท้องถิ่น กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
Home
Bio-chemicals
งานวิจัยจากส่วนท้องถิ่น
Biochemicals Research Services ?
ผลงานวิจัยส่วนท้องถิ่น กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
5 อันดับผลงานล่าสุด
ที่ถูกอัพเดทในฐานข้อมูล
กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของกระชายขาวที่หมักด้วยแบคทีเรียกรดแลคติก
: วันวิสาข์ บุญกล้า อนุศักดิ์ เกิดสิน และปริยาภรณ์ อิศรานุวัฒน์
Views: 13
: 25 มีนาคม 2568 08:44:18
านวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของกระชายขาวที่หมักด้วยเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติก(lactic acid bacteria:LAB)โดยมีปัจจัยที่ศึกษา 2 ปัจจัย ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียกรดแลคติกที่มีคุณสมบัติเป็นโพรไบโอติกจํานวน 10 สายพันธุ์ ได้แก่ แบคทีเรีย Lactobacillus pentosusJM085 L.pentosusJM0812 L.pentosusUM055 L.pentosusUM054L.pentosusYM122 L.pentosusVM096 L.pentosusDM068 L.pentosusVM095 Enterococcus faecalisYM126 และ L.lactisA7 ระยะเวลาในการหมัก ได้แก่ 0 24 48 และ 72 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่าสายพันธุ์และระยะเวลาในการหมักส่งผลต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH radical-scavengingassay(DPPH)และferric reducing antioxidant power (FRAP) assay อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p≤0.05) เมื่อระยะเวลาในการหมักเพิ่มขึ้นส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระโดยกระชายขาวที่หมักด้วยแบคทีเรียL. pentosusDM068 นาน 72 ชั่วโมง มีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH สูงสุดเท่ากับ 83.42±1.30 ไมโครกรัมโทรล็อกซ์ต่อมิลลิลิตร (μg TE/ml)สําหรับค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP พบว่ากระชายขาวที่หมักด้วยแบคทีเรียL. pentosusVM095 นาน 72 ชั่วโมง มีค่าสูงที่สุดเท่ากับ 295.82±2.15 ไมโครกรัมของเฟอร์รัสต่อมิลลิลิตร (μg Fe(II)/ml)การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการหมักกระชายขาวด้วยเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติกสามารถเพิ่มกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถนําไปพัฒนาเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อประโยชน์ทางอุตสาหกรรมอาหารและทางเภสัชศาสตร์ได้....
อ่านต่อ
การเตรียมโปรตีนไฮโดรไลเสตจากสาหร่ายสไปรูลิน่าและคุณสมบัติเชิงหน้าที่
: สุพรรณี เบเชกู่ และ วนิดา ปานอุทัย
Views: 17
: 11 มีนาคม 2568 11:30:35
โปรตีนจากสาหร่ายสไปรูลิน่าถือเป็นโปรตีนทางเลือกอุดมไปด้วยเพปไทด์ที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของมนุษย์ เช่น การต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ต้านการอักเสบ ลดความดันโลหิตหรือต้านโรคอ้วน เป็นต้น ดังนั้นโปรตีนไฮโดรไลเสตจากสาหร่ายสไปรูลิน่าจึงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งนอกจากคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคแล้วยังมีคุณสมบัติเชิงหน้าที่ในอาหารที่เหมาะสมสำหรับการแปรรูปในแง่ของผู้ผลิต การรายงานในบทความก่อนหน้ามักรายงานถึงโปรตีนจากสาหร ....
อ่านต่อ
การพัฒนาตำรับเครื่องดื่มจากพืชที่มีกรดอะมิโนและกรดไขมันจำเป็นจาก ถั่ว งา และดาวอินคา
: กุลชญา สิ่วหงวน, จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง, อุทัยวรรณ ฉัตรธง และ เกตุการ ดาจันทา
Views: 17
: 05 มีนาคม 2568 09:00:04
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำรับที่เหมาะสมในการผลิตเครื่องดื่มจากถั่ว งา และดาวอินคา ที่มีกรดอะมิโนและกรดไขมันจำเป็น ใช้แผนการทดลองแบบผสม (mixture design) ปัจจัยที่ต้องการศึกษา 3 ปัจจัย ได้แก่ ถั่วเหลือง (ร้อยละ 50-60) ถั่วดำ (ร้อยละ 5-15) และถั่วแดง (ร้อยละ 2-12) กำหนดปริมาณงาขาว งาดำ และดาวอินคา อย่างละร้อยละ 10 ปรับรสชาติโดยเติมสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ไม่เกินร้อยละ 5 ปรับน้ำเป็น 600 มิลลิลิตร ได้ทั้งหมด 10 สูตรพิจารณาตำรับที่เหมาะสมจากคุณภาพทางประสาทสัมผัสในด้านเนื้อสัมผัส รสชาติ ด้ ....
อ่านต่อ
ผลของการทำแห้งต่อสมบัติทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของสาหร่ายพวงองุ่น
: พิชญอร ไหมสุทธิสกุล วิชมณี ยืนยงพุทธกาล และ สิริมา ชินสาร
Views: 28
: 05 กุมภาพันธ์ 2568 08:10:06
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการทำแห้งด้วยเครื่องทำแห้งแบบถาดต่อสมบัติทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของสาหร่ายพวงองุ่นตกเกรดที่ไม่สามารถนำมาบริโภคได้แล้วโดยประกอบด้วยกิ่งหรือสโตลอน (Stolon) มากกว่าส่วนกลมสีเขียวหรือรามูลัส (Ramulus) จากจังหวัดเพชรบุรีในประเทศไทย ทำการประเมินสมบัติทางเคมีของสาหร่ายพวงองุ่นโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี แร่ธาตุ และปริมาณโลหะหนัก ประเมินฤทธิ์ทางชีวภาพโดยการประเมินด้วยวิธี DPPH การคีเลทโลหะ ความสามารถในการยับยั้งแอลฟากลูโคซิเดส รวมถึงปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดพบว่า ....
อ่านต่อ
การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตกรดซิตริกจากสับปะรดเหลือทิ้ง โดย Candida metapsilosis CPRU001 ด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง
: ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา
Views: 190
: 15 สิงหาคม 2566 14:26:21
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตกรด ซิตริกจากสับปะรดเหลือทิ้งภาคเกษตรกรรมโดย Candida metapsilosis CPRU001 โดยใช้การออกแบบการทดลองทางสถิติด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง (Response surface methodology, RSM) ใน รูป แ บ บ ส่ว น ป ระ ส ม ก ล าง (Central Composite Design, CCD) ซึ่งทาการคัดเลือก 3 ปัจจัยที่มีผลต่อการ ผลิตกรดซิตริก ชึ่งประกอบด้วย 1.ค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้น (Initial pH) ของ สับสเตรท 2. ปริมาณยีสต์สกัด (yeast extract) และ 3. ปริมาณโปแตส เซียมได ไอโดรเจนฟอสเฟ ....
อ่านต่อ
Displaying all of Biochemicals Research
Loading...