งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
นางสาววรลักษณ์ คงจินดามุณี
การผลิตเอทานอลจากแกนข้าวโพด
Ethanol Production from Corncob
แกนข้าวโพดเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรซึ่งมีองค์ประกอบหลัก คือ คาร์โบไฮเดรตและเซลลูโลส ถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับ การผลิตเอทานอล โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 กระบวนการหลัก คือ กระบวนการปรับสภาพและย่อยแกนข้าวโพดซึ่งเปรียบเทียบระหว่างการใช้สารเคมีและการใช้เอนไซม์ และกระบวนการหมักซึ่งเปรียบเทียบระหว่างการใช้ยีสต์ขนมปัง (Baker’s yeast) และยีสต์ Saccharomyces cerevisiae YSC2 สำหรับการปรับสภาพและย่อยด้วยสารเคมี ทำการศึกษาการปรับสภาพด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 1-2.5 โมลาร์ ที่อุณหภูมิ 50-80 องศาเซลเซียส และระยะเวลา 6-24 ชั่วโมง และย่อยด้วยสารละลายกรดซัลฟิวริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.5-2 โดยมวล ที่อุณหภูมิ 90-120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-6 ชั่วโมง พบสภาวะที่เหมาะสม คือ การปรับสภาพด้วยสารละลายด่าง 2.5 โมลาร์ อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 18 ชั่วโมง และย่อยด้วยสารละลายกรดร้อยละ 0.5 โดยมวล อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ได้ผลผลิตน้ำตาลรีดิวซ์ 12.420 กรัมต่อลิตร และสำหรับการปรับสภาพและย่อยด้วยเอนไซม์ ทำการศึกษาการปรับสภาพและย่อยด้วยเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสร้อยละ 0.05-0.2 โดยมวล อุณหภูมิ 80-100 องศาเซลเซียส เวลา 60-240 นาที และย่อยต่อด้วยเอนไซม์กลูโคอะไมเลสร้อยละ 0.05-0.2 โดยมวล อุณหภูมิ 50-70 องศาเซลเซียส เวลา 240-480 นาที พบสภาวะที่เหมาะสม คือ การปรับสภาพด้วยเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสร้อยละ 0.2 โดยมวล อุณหภูมิ 87.6 องศาเซลเซียส เวลา 150 นาที และย่อยด้วยเอนไซม์กลูโคอะไมเลสร้อยละ 0.13 โดยมวล อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เวลา 360 นาที ได้ผลผลิตน้ำตาลรีดิวซ์ 13.251 กรัมต่อลิตร ซึ่งผลของการใช้เอนไซม์ให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์มากกว่าการใช้สารเคมี หลังจากนั้นนำผลผลิตหลังผ่านการปรับสภาพและย่อยด้วยสภาวะที่เหมาะสม มาศึกษาการหมักด้วยยีสต์ที่ต่างชนิดกัน คือ ยีสต์ขนมปัง (Baker’s yeast) และยีสต์ Saccharomyces cerevisiae YSC2 โดยมีปัจจัยสาคัญที่ศึกษา คือ ปริมาณยีสต์ร้อยละ 2-8 โดยมวล พีเอช 4.0-6.0 เป็นเวลา 48-144 ชั่วโมง ภายใต้การควบคุมอุณหภูมิที่ 30 องศาเซลเซียส พบสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการหมักผลผลิตหลังปรับสภาพและย่อยด้วยสารเคมีโดยใช้ยีสต์ขนมปัง คือ ยีสต์ร้อยละ 8 โดยมวล พีเอช 5.12 เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ให้ผลผลิตเอทานอลร้อยละ 7.649 โดยปริมาตร และการหมักโดย S. cerevisiae YSC2 สภาวะที่เหมาะสม คือ ยีสต์ร้อยละ 5.77 โดยมวล พีเอช 5.65 เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ได้ผลผลิตเอทานอลน้อยกว่าเป็นร้อยละ 6.473 โดยปริมาตร สำหรับการหมักผลผลิต ที่ปรับสภาพและย่อยด้วยเอนไซม์สภาวะที่เหมาะสมเมื่อใช้ยีสต์ขนมปัง (Baker’s yeast) คือ ยีสต์ร้อยละ 8 โดยมวล พีเอช 5.33 ใช้เวลา 135 ชั่วโมง ได้ผลผลิตเอทานอลร้อยละ 8.158 โดยปริมาตร และการหมักด้วย S. cerevisiae YSC2 สภาวะที่เหมาะสม คือ ยีสต์ร้อยละ 2 โดยมวล พีเอช 5.64 เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ให้ผลผลิตเอทานอลร้อยละ 9.315 โดยปริมาตร ซึ่งมากกว่าการหมักด้วยยีสต์ขนมปังและเป็นวิธีที่ให้ผลผลิตมีความบริสุทธิ์มากที่สุด การประมาณต้นทุนการผลิตทั้ง 4 แบบ พบว่า วิธีการผลิตซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่าสุด คือ 15.32 บาทต่อลิตร การปรับสภาพและย่อยด้วยเอนไซม์และหมักด้วยยีสต์ S. cerevisiae YSC2 ซึ่งคิดเป็นผลได้เอทานอล 520.75 ลิตรต่อตันของวัตถุดิบ แต่วิธีที่ให้ผลได้ของ เอทานอลมากที่สุดเป็น 549.31 ลิตรต่อตัน โดยการปรับสภาพและย่อยด้วยสารเคมีและหมักด้วยยีสต์ขนมปัง (Baker’s yeast) ซึ่งมีต้นทุนการผลิต 37.45 บาทต่อลิตร
-