งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
อาทิตย์ หู้เต็ม, ธนาวรรณ สุขเกษม, กานต์ แย้มพงษ์, สมเพียร ฟักทองและแสงจันทร์ สอนสว่าง
การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตไบโอเอทานอลจากชานอ้อยด้วยกระบวนการเซลลูโลซิกเอทานอล The Study of Efficiency of Bioethanol Production from Sugarcane Bagasse by Cellulosic Ethanol Process.
การผลิตไบโอเอทานอลจากชานอ้อยจัดเป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งเป็นวัสดุประเภทลิกโนเซลลูโลสที่สามารถถูกย่อยสลายให้เป็นน้้าตาลรีดิวซ์เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบส้าหรับการผลิตไบโอเอทานอลงานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อท้าการศึกษาวิธีการปรับสภาพชานอ้อยที่สามารถประสิทธิภาพการผลิตไบโอเอทานอล โดยท้าการหมักชานอ้อยที่ผ่านการปรับสภาพแล้วโดยตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 18 วัน พบว่าการปรับสภาพชานอ้อยด้วยกรดไฮโดรคลอริกความเข้มข้น 1% สามารถย่อยสลายเซลลูโลสจากชานอ้อยเป็นน้้าตาลกลูโคส และไซโลสได้สูงที่สุด 789.6ไมโครกรัมต่อลิตร และ 3,779 ไมโครกรัมต่อลิตร ตามล้าดับ และเมื่อน้ามาหมักด้วยเชื้อ Kluyveromyces marxianusTISTR5177ที่มีค่า pH เท่ากับ 5.0 เมื่อสิ้นสุดกระบวนการหมักจะสามารถผลิตเอทานอลได้สูงสุด 28 กรัมต่อลิตร ซึ่งมีประสิทธิภาพของกระบวนการหมักดีที่สุด 21.39 เปอร์เซ็นต์ต่อกรัมตัวอย่างแห้ง ชานอ้อยจึงมีความเหมาะสมที่จะน้ามาใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตไบโอเอทานอลด้วยวิธีเซลลูโลซิกเอทานอลได้ เนื่องจากเป็นของเหลือทิ้งปริมาณมากจากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปราคาถูก และที่ส้าคัญสามารถน้ามาย่อยสลายแล้วให้ปริมาณน้้าตาลรีดิวซ์สูงดังนั้นชานอ้อยจึงเป็นของเหลือทิ้งที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอเอทานอล
2564