งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
ชุติมา ทองอ้ม ,ตรีทเศศ บัวศรี ,ศศิวรรณ ศิริชน ,นภัทรสกร พวงท้าว ,ปราณี พัฒนพิพิธไพศาล
การผลิตเอนไซม์ฟอกสีเมลานินโดยเชื้อรา Aspergillus flavus MA4 โดยกระบวนการหมักแบบอาหารแข็ง
(Production of melanin-bleaching enzyme by Aspergillus flavus MA4 using solid state fermentation)
การแยกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีกิจกรรมการฟอกสีเมลานินจากตัวอย่างดิน อากาศ น้ำเสีย และเส้นผม รวมทั้งหมด 13 ตัวอย่าง บนอาหารเลี้ยงเชื้อ melanin agar medium บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7-14 วัน สามารถคัดแยกเชื้อที่สามารถฟอกสีเมลานินโดยให้บริเวณใสรอบๆ โคโลนีจานวน 7 ไอโซเลท เป็นเชื้อแบคทีเรียจำนวน 4 ไอโซเลทคือ ไอโซเลท MA3, MS1, MS2, และ MH1 และ เชื้อราจำนวน 3 ไอโซเลท คือ ไอโซเลท MA1, MA2, และ MA4 เมื่อทำการคัดเลือกพบว่า ไอโซเลท MA4 มีค่า enzyme activity ratios สูงสุดเท่ากับ 2.04 จากนั้นนำเชื้อราไอโซเลท MA4 มาจำแนกชนิดโดยการวิเคราะห์ยีนบริเวณ internal transcribed spacer (ITS) rDNA พบว่าสามารถจัดจำแนก เชื้อราไอโซเลท MA4 เป็น Aspergillus flavus MA4 เมื่อศึกษาเปรียบเทียบการผลิตเอนไซม์ฟอกสีเมลานินด้วยกระบวนการหมักแบบอาหารแข็งและกระบวนการหมักแบบอาหารเหลวพบว่าเอนไซม์ที่ได้จากกระบวนการหมักแบบอาหารแข็ง (35.29 units/ml) มีกิจกรรมสูงกว่าเอนไซม์ที่ได้จากกระบวนการหมักแบบอาหารเหลว (1.08 units/ml) สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์ด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ sawdust medium คือ ปริมาณขี้เลื่อยและกัวอีคอลที่เหมาะสมคือ 11 กรัม และ 3.0 มิลลิกรัมตามลาดับ พีเอชเริ่มต้นของอาหารเลี้ยงเชื้อเท่ากับ 6.0 บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 วัน ภายใต้สภาวะการผลิตที่เหมาะสมเชื้อรา ผลิตเอนไซม์ที่มีกิจกรรมเอนไซม์ฟอกสีเมลานินเท่ากับ 41.54 units/ml ผลการทดลองที่ได้ชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะผลิตเอนไซม์ฟอกสีเมลานินในระดับขยายขนาด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการนาไปใช้เพื่อการฟอกย้อมสีผมต่อไป
2560