งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
นางสาวอัจฉราพรรณ ใจเจริญ
การผลิตรีคอมบิแนนท์เอนไซม์แอลฟาอะไมเลสและกลูโคอะไมเลสจากจุลินทรีย์ เพื่อใช้ในกระบวนการย่อยแป้งเชิงพาณิชย์
Production of recombinant alpha amylase and recombinant glucoamylase from microbial for using starch
เอนไซม์อะไมเลส เป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ใช้แป้งเป็นวัตถุดิบและยังเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง ปัจจุบันนิยมผลิตรีคอมบิแนนท์เอนไซม์ อะไมเลสจากจุลินทรีย์ เนื่องจากเลี้ยงง่ายความต้องการอาหารไม่ซับซ้อน สะดวกในการเก็บเชื้อได้นานโดยไม่ต้องถ่ายเชื้อบ่อยและเป็นแหล่งเอนไซม์ที่มีปริมาณไม่จากัด ดังนั้นงานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษากรรมวิธีผลิตและแยกบริสุทธิ์เอนไซม์อะไมเลสจุลินทรีย์ โดยคำนึงถึงต้นทุนการผลิต ปริมาณและประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ โดยโคลนยีนแอลฟาอะไมเลสเข้ากับ pQE80L เพื่อผลิตรีคอมบิแนนท์แอลฟาอะไมเลสในเซลล์แบคทีเรีย ชักนำการหลั่งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสจาก แบคทีเรียที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส มีกิจกรรม (activity) การย่อยแป้งสูงกว่าที่อุณหภูมิ 25 และ 37 องศาเซลเซียส การผลิตเอนไซม์อะไมเลสจากแบคทีเรีย สามารถใช้ 1 mM Lactose แทน IPTG กระตุ้นให้แบคทีเรียผลิตเอนไซม์อะไมเลสได้ ผลิตรีคอมบิแนนท์แอลฟาอะไมเลสขนาดประมาณ 70 กิโลดาลตัน สกัดบริสุทธิ์ได้เอนไซม์ 12.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีค่ากิจกรรมของเอนไซม์ประมาณ 5 U/ml ที่สภาวะอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสและ pH 7.5 และที่สภาวะอุณหภูมิ 70 และ90 องศาเซลเซียส, pH7.5 ยังคงมีกิจกรรมของเอนไซม์อะไมเลสในการย่อยแป้งที่ใกล้เคียงกับที่สภาวะอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในอุตสาหกรรมแป้งต่าง ๆ เนื่องจากในกระบวนการทำให้น้ำแป้งเหลว (liquefaction) นั้นจะต้องใช้เอนไซม์อะไมเลสช่วยย่อยแป้งในอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง
2019