งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
นายอำพล เลือดสงคราม
การหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์โปรติเอสและไลเปสโดยวิธีทำกูชิจากกากเมล็ดสบู่ดำ ด้วยวิธีการหมักแบบแห้ง
Optimization of Protease and Lipases Production by Taguchi Method from Jatroha Curcas Seed Cake in S
งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้ประโยชน์จากกากเมล็ดสบู่ดำ โดยนามาเป็นวัสดุหมักเพื่อผลิตเอนไซม์โปรติเอสและ ไลเปสด้วยรา 2 ชนิดคือ Rhizopus oligosporus และ Aspergillus oryzae พบว่า การหมักกากเมล็ดสบู่ดำด้วยรา Rhizopus oligosporus ให้ค่ากิจกรรมเอนไซม์ไลเปสสูงกว่าการใช้รา Aspergillus oryzae คิดเป็น 71.30 เปอร์เซ็นต์ และการหมักกากเมล็ดสบู่ดำด้วย รา Aspergillus oryzae จะมีค่ากิจกรรมเอนไซม์โปรติเอสสูงกว่ารา Rhizopus oligosporus คิดเป็น 10.47 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นทำการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์ไลเปส ด้วยรา Rhizopus oligosporus และผลิตเอนไซม์โปรติเอสด้วยรา Aspergillus oryzae โดยใช้การออกแบบการทดลองด้วยวิธีทากุชิแบบ orthogonal array L27 (35) โดยพิจารณา 5 ปัจจัยคือ ความชื้นของวัสดุหมัก ปริมาณต้นเชื้อ อุณหภูมิในการหมักชนิดของ วัสดุหมัก และเวลาที่ใช้ในการหมัก จากการศึกษาพบว่า ที่ความชื้นของวัสดุหมักที่ 50 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณต้นเชื้อ 15 เปอร์เซ็นต์ของวัสดุหมัก อุณหภูมิในการหมัก 35 องศาเซลเซียส ใช้กากเมล็ดสบู่ดำเป็นวัสดุหมัก และเวลาในการหมัก 84 ชั่วโมง เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตเอนไซม์ไลเปส ด้วยรา Rhizopusoligosporus โดยมีค่ากิจกรรมเอนไซม์ไลเปสเท่ากับ 278 ยูนิตต่อน้ำหนักวัสดุหมักแห้ง หรือเพิ่มขึ้นเป็น 59 เปอร์เซ็นต์ของการผลิตเอนไซม์ไลเปสที่ยังไม่ได้ออกแบบการทดลอง และพบว่าความชื้นของวัสดุหมักที่ 45 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณต้นเชื้อ 10 เปอร์เซ็นต์ของวัสดุหมัก อุณหภูมิใน การหมัก 30 องศาเซลเซียส เมื่อใช้วัสดุหมักเป็น กากเมล็ดสบู่ดำผสมกับ กากมันสำปะหลัง และเวลาในการหมัก 84 ชั่วโมง เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตเอนไซม์ โปรติเอส ด้วยราAspergillus oryzae โดยมีค่ากิจกรรมเอนไซม์โปรติเอสเท่ากับ 14,108 ยูนิตต่อน้ำหนักวัสดุหมักแห้ง หรือเพิ่มขึ้นเป็น 78 เปอร์เซ็นต์ของการผลิตเอนไซม์โปรติเอสที่ยังไม่ได้ออกแบบการทดลอง
2010