งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ แสงสุวรรณ และนางสาวพัชรี จึงศีลญธรรม
ผลของชนิดสารเชื่อมขวางต่อสมบัติให้ไฮโดรเจลที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพของแป้งมันสำปะหลังกราฟด้วยพอลิอะครีลิค/ยางธรรมชาติ เพื่อเป็นวัสดุเคลือบปุ๋ยยูเรียปลดปล่อยช้า
Effect off Crosslinker Types on the Properties of Biodegradible Hydrogels Deriverd from Cassava Star
งานวิจัยนี้รายงานเกี่ยวกับปุ๋ยยูเรียปลดปล่อยช้า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ได้เลยทำการสังเคราะห์พอลีเมอร์ที่ย่อยสลายทางชีวภาพเพื่อใช้เคลือบเม็ดปุ๋ยยูเรียและเพื่อทำการควบคุมและปลดปล่อยปุ๋ย ไฮโดรเจลเป็นพอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างเป็นโครงร่างตาข่ายสามมิติที่มีความสามารถในการกักเก็บน้ำขั้นสูง ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้ทำการเตรียมให้โดเจลโครงร่างตาข่ายกึ่งแทรกสอดที่ย่อยสลายได้ทางธรรมชาติจากแป้งมันสำปะหลังกราฟต์ด้วยอะคริลิคแอซิดและยางธรรมชาติผ่านปฏิกิริยาโคพอลีเมอร์ไรเซชั่น โดยทำการศึกษาผลของการใช้สารเชื่อมขวางที่แตกต่างกัน 3 ชนิด คือ เอ็น-เอ็น เมทาลีนบิสอะคริสาไมด์ (MBA) เอทิลีนไกลคอลไดมีทาไคเลต (EDMA) และกลูตาเลาแอลดีไฮด์ (GA) แนะนำให้โดเจลที่ได้ไปพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยเทคนิค FTIR XRD TGA และ SEM ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณสมบัติการบวมตัว เช่น ชนิดของสารเชื่อมขวางและปริมาณที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่าสารเชื่อมขวางที่ต่างชนิดกันนั้นส่งผลต่อค่าการบวมตัวต่างกันอย่างชัดเจน ตัวอย่างที่มีค่าการดูดซับน้ำที่ดีที่สุด คือ CSB-M2 CSB-E2 และ CSB-G2 ที่ 450 550 5890% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาการกักเก็บน้ำในดิน การย่อยสลายทางชีวภาพ และการนำไปทดสอบในพืชจริง พบว่าให้ไฮโดเจลช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นให้แก่ดินได้ สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพได้ดีใน 120 วันและมีประสิทธิภาพสูงสำหรับการเคลือบปุ๋ยและควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยยูเรียได้ยาวนานถึง 120 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่า 30 วัน ในน้ำและในดินตามลำดับ ดังนั้นวัสดุไฮโดรเจล ที่ย่อยสลายทางชีวภาพชนิดใหม่นี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากในการเป็นวัสดุเคลือบและควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยแล้วไม่เป็นพิษ สามารถย่อยสลายในดินได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2019