งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
พัชรี หลุ่งหม่าน จีรนันท์ กล่อมนรา แก้วรักษา และ จาตุรนต์ ทิพย์วงศ์
การประยุกต์ใช้สถิติเพื่อการออกแบบสภาวะที่เหมาะสมในการหมักกรดอินทรีย์ จากผลตะลิงปลิงโดย
Zygosaccharomyces rouxii TISTR 5044 สำหรับทำยางก้อนถ้วย Application of Statistical Experimental Meth
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมต่อการผลิตกรดอินทรีย์จากน้ำหมักผลตะลิงปลิง หมักด้วย Zygosaccharomyces rouxii TISTR 5044 โดยการออกแบบสูตรด้วยวิธี two–level factorial design และ การตอบสนองแบบพื้นผิว โดยมีปัจจัย 4 ปัจจัย ที่ระดับความเข้มข้นต่ำสุดและสูงสุด จากนั้นนำน้ำหมักมาใช้เป็นสารจับตัวสำหรับทำยางก้อนถ้วย ผลการศึกษาพบว่า สูตรน้ำหมักประกอบด้วย ผลตะลิงปลิง : น้ำ : กากน้ำตาล : Zygosaccharomyces rouxii TISTR 5044 ที่มีอัตราส่วน 25 :13 :13 :7 หมักในถังพลาสติกขนาด 25 ลิตร ที่ระยะการหมัก 10 วัน บ่มที่อุณหภูมิห้องให้กรดอินทรีย์สูงสุด 23.40 เปอร์เซ็นต์ซึ่งสูงกว่าสูตรเริ่มต้น 1.4 เท่า ผลการทำนายด้วยวิธีตอบสนองแบบพื้นผิว สูตรน้ำหมักที่ประกอบด้วย ผลตะลิงปลิง : น้ำ : กากน้ำตาล : Zygosaccharomyces rouxiiTISTR 5044 อัตราส่วน 25 : 13 : 13 : 7 ผลิตกรดอินทรีย์สูงสุด 22.78 เปอร์เซ็นต์ องค์ประกอบของกรดอินทรีย์เมื่อนำมาวิเคราะห์ด้วย High Performance Liquid Chromatography พ บ ว่า มี L–malic acid, succinic acid, lactic acid แ ละ acetic acid ป ริ ม า ณ 507.140, 2,827.442, 2064.356 และ 1325.335 พีพีเอ็ม ส่วนการจับตัวของน้ำยาง พบว่าน้ำหมักผลตะลิงปลิงและกรดชีวภาพทางการค้า ปริมาตร 30 มิลลิลิตร ทำให้น้ำยางปริมาตร 300 มิลลิลิตร จับตัวเป็นก้อนใช้เวลา 4 นาที ส่วนกรดฟอร์มิกใช้ เวลานานสุด 24 นาทีลักษณะทางกายภาพของยางก้อนถ้วยที่เติมน้ำหมักชีวภาพผลตะลิงปลิงจะมีสีคล้ำกว่าการใช้กรดชีวภาพทางการค้าและกรดฟอร์มิก
2017