งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา
การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตกรดซิตริกจากสับปะรดเหลือทิ้ง โดย Candida metapsilosis CPRU001 ด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตกรดซิตริกจากสับปะรดเหลือทิ้งภาคเกษตรกรกรรมโดย Candida metapsilosis CPRU001 โดยใช้การออกแบบการทดลองทางสถิติด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง (Response surface methodology, RSM) ในรูปแบบส่วนประสมกลาง (Central Composite Design, CCD) ซึ่งทาการคัดเลือก 3 ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตกรดซิตริก ชึ่งประกอบด้วย 1. ค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้น (Initial pH) ของสับสเตรท 2. ปริมาณยีสต์สกัด (yeast extract) 3. ปริมาณโปแตส เซียมไดไอโดรเจนฟอสเฟต (KH2PO4) ผลการวิจัยพบว่า สมการพหุนามกำลังสอง (quadratic equation) สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อผลิตกรดซิตริก (response; Y) อย่างมีนัยสาคัญ (P<0.05) ดังนี้ ที่ระดับความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นของสับเสตรท ที่ 5.34 ปริมาณยีสต์สกัด 0.32 กรัมต่อลิตร และปริมาณโพแทสเซียมไดไฮโดเจนฟอสเฟต 0.69 กรัมต่อลิตร เมื่อใช้ระยะเวลาในการหมัก 144 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้องบน เครื่องเขย่าความเร็วรอบ 150 รอบต่อนาที สามารถผลิตกรดซิตริก เท่ากับ 11.62±0.54 กรัมต่อลิตร
2561