หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
Home
Bio-chemicals
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ
read
ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)
ประเภทงานวิจัย :
งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
ประเภทงานอุตสาหกรรม :
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
ผู้แต่ง :
รองศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ บุญทาวัน
ชื่อเรื่อง (TH) :
การทำบริสุทธิ์กรดซัคซินิคที่ได้จากน้ำหมักด้วยเทคนิคนาโนฟิลเตชั่นและการตกผลึก (Purification of fermentation derived-succinic acid using nanofiltration and crystallization technique)
ชื่อเรื่อง (EN) :
บทคัดย่อ (TH) :
ปัจจุบันพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้กำลังเป็นที่สนใจ เนื่องจากไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม กรดซัคซินิคถือเป็นกรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกชีวภาพได้ โดยกรดซัคซินิคสามารถผลิตได้จากกระบวนการหมักด้วยเชื้อ Actinobacillus succinogenes ATCC 55618 สามารถผลิต กรดซัคซินิคได้ความเข้มข้นสูงสุดคือ 130.4 กรัมต่อลิตร คิดเป็น 0.62 gSA/gglucose นอกจากนี้ ผลผลิตสุดท้ายของการหมักจะได้ผลพลอยได้อื่น ๆ อาทิเช่น กรดแลคติค กรดอะซิติค กรดฟอร์มิค และไพรูวิค เท่ากับ 2.3, 16.7, 1.22 และ 50.5 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ โครงการนี้ จึงทำการศึกษากระบวนการทำบริสุทธิ์กรดซัคซินิค โดยใช้เทคนิคที่มีประสิทธิภาพและมีราคาถูกในการแยก กรดซัคซินิคออกจากกรดอินทรีย์ชนิดอื่น จึงพัฒนาโดยมีหน่วยปฏิบัติการ (unit operation) ต่าง ๆ ภายหลังจากการหมัก เริ่มจากการกรองเซลล์ โดยตัวอย่างจะถูกปั๊มผ่านเมมเบรนไมโครฟิลเตชั่นและเมมเบรนนาโนฟิลเตชั่น ผลการทดลองพบว่าค่าฟลักซ์จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไปและปริมาตรสะสมและความเข้มข้นของเพอร์มิเอทเพิ่มขึ้นด้วย สามารถกำจัดสิ่งปนเปื้อนชนิดอื่นออกจากน้ำหมักก่อน โดยเฉพาะโปรตีนและสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ รวมทั้งกาจัดสีของสารละลาย ทำให้ส่วนกรองที่ได้มีสีใส ตามด้วยทำการตกผลึก เนื่องจากค่าการละลายของ กรดซัคซินิคจะต่ำกว่ากรดอินทรีย์ชนิดอื่นสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการตกผลึกได้ด้วยการตกผลึกแบบชั้น ในขณะที่สารอื่น ๆ จะไม่สามารถตกผลึกได้ ทำให้ได้ตัวอย่างที่มีความบริสุทธิ์สูง อีกทั้งตัวอย่างที่ไม่ผ่านกระบวนการนาโนฟิลเตชั่น เมื่อเกิดการตกผลึก จะเกิดเป็นผลึกที่มีสีเหลือง ไม่ใส และคุณภาพต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่ผ่านนาโนฟิลเตชั่น พบว่ามีสีขาว ลักษณะใสคล้ายแก้ว จากการทดลองเติม seeding นั้นพบว่าจะได้ขนาดของผลึกที่ใหญ่ขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับที่ไม่ได้เติม seed (unseeding) ที่ high seeding พบว่าจะได้ขนาดของผลึกที่ใหญ่กว่า มีลักษณะใสกว่าแบบ low seeding ผลึกที่ได้ออกมาจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับผลึกทางการค้า ผลจากการศึกษานี้ จึงสามารถใช้เป็นแนวทางในการทำบริสุทธิ์กรดซัคซินิคจากน้ำหมักในระดับโรงงานต้นแบบต่อไป
บทคัดย่อ (EN) :
คำสำคัญ (TH) :
คำสำคัญ (EN) :
ปีที่พิมพ์ :
2562
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<