งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
ศิรประภาชัยเนตร รุ่งนภา เขียววิจิตร ชาญชัย เดชธรรมรงค์ และครรชิต เงินคาคง
การดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์ในสารละลายโดยใช้เปลือกไข่ที่ปรับสภาพด้วยเทคโนโลยีพลาสมา (FORMALDEHYDE ADSORPTION IN AQUEOUS SOLUTION USING EGGSHELL TREATED WITH PLASMA TECHNOLOGY)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์ในสารละลายโดยใช้เปลือกไข่ที่ปรับสภาพด้วยพลาสมาเปรียบเทียบกับการใช้เปลือกไข่ที่ไม่ผ่านการปรับสภาพตามปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับ ได้แก่ ความเข้มข้นของสารละลายฟอร์มัลดีไฮด์เริ่มต้น (10-50 มิลลิกรัมต่อลิตร) ระยะเวลาสัมผัส (5-360 นาที) และขนาดของเปลือกไข่ที่ใช้Sieve no.12, 16 และ 20ซึ่งได้อนุภาคเปลือกไข่ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง≤1.70 มิลลิเมตร, ≤1.18 มิลลิเมตร และ≤0.85 มิลลิเมตรตามล าดับ โดยเป็นการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการและเพื่อศึกษาไอโซเทอมการดูดซับของฟอร์มัลดีไฮด์ จากผลการศึกษา พบว่าการปรับสภาพเปลือกไข่ด้วยพลาสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจัยที่เหมาะสมในการดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์โดยใช้เปลือกไข่ที่ปรับสภาพด้วยพลาสมา คือ ใช้ความเข้มข้นของสารละลายฟอร์มัลดีไฮด์เริ่มต้นเท่ากับ 30 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ระยะเวลาสัมผัส 120 นาที และใช้เปลือกไข่ขนาด Sieve no.16 ซึ่งส่งผลให้มีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์เท่ากับร้อยละ 90.53±0.00 ในขณะที่การใช้เปลือกไข่ที่ไม่ผ่านการปรับสภาพ มีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการดูดซับฟอร์มัลดี-ไฮด์เท่ากับร้อยละ 56.17±2.34 รวมถึงยังพบว่าไอโซเทอมการดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์มีความสอดคล้องกับแลงเมียร์ได้ดีกว่าฟรุนดลิช โดยการใช้เปลือกไข่แบบที่ปรับสภาพด้วยพลาสมาส่งผลให้มีความสามารถสูงสุดในการดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์เท่ากับ 18.203 มิลลิกรัมต่อกรัม ซึ่งสูงกว่าการใช้เปลือกไข่ที่ไม่ผ่านการปรับสภาพถึง 3.8 เท่า งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาวิธีการดูดซับฟอร์มัลดีไฮด์โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการปรับสภาพวัสดุดูดซับที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งอย่างเปลือกไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถใช้พัฒนาต่อยอดเพื่อการประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียฟอร์มัลดีไฮด์ในภาคอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต
2565