หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
Home
Bio-chemicals
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ
read
ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)
ประเภทงานวิจัย :
งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
ประเภทงานอุตสาหกรรม :
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
ผู้แต่ง :
1. จุฑาพร แสวงแก้ว 2. พลสัณห์ มหาขันธ์ 3. ผุสรัตน์ สิงห์คูณ 4. ณัฐพร หมู่พราหมณ์ 5. ปาจรีย์ โนนิล 6. สุพิชชา พันธุ์คะชะ
ชื่อเรื่อง (TH) :
การคัดเลือกเชื้อราที่มีประสิทธิภาพการย่อยสลายใบยางนาเพื่อผลิตไบโอ เอทานอล
ชื่อเรื่อง (EN) :
บทคัดย่อ (TH) :
ยางนาเป็นพืชที่พบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย และมีศักยภาพในการนาไปใช้ ประโยชน์หลายด้าน รวมถึงสามารถนาไปผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ งานวิจัยนี้ จึงมุ่งเน้นศึกษาการคัดเลือกเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายใบยางนา เพื่อใช้ในการผลิตไบโอเอทานอล โดยเก็บตัวอย่างดินภายในสวนป่ายางนาสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเลือกเก็บบริเวณรอบลำต้นยางนา และดินที่ติดบนใบ ยางนาที่ร่วงลงพื้น เพื่อคัดเลือกเชื้อราที่มีความสามารถในการสร้างเซลลูโล - ไลติกเอนไซม์บนอาหารแข็ง เพื่อนาไปใช้ในขั้นตอนการผลิตเอนไซม์ภายใต้สภาวะ solid-state fermentation ในอาหารที่มีอัตราส่วนของราข้าวสาลีและใบยางนาที่ ต่างกัน พร้อมกับศึกษากิจกรรมของเซลลูโลไลติกเอนไซม์ ผลการศึกษา พบว่า เชื้อราจากไอโซเลท L1-1 มีค่ากิจกรรมเอนไซม์บีตากลูโคซิเดส และเอนไซม์ ฟิลเตอร์เปเปอร์เอสสูงที่สุดเท่ากับ 13.07 และ 87.00 IU/g solid ตามลำดับ และ เชื้อราจากไอโซเลท I10-2 มีค่ากิจกรรมเอนไซม์คาร์บอกซีเมทิลเซลลูเลสสูงที่สุด เท่ากับ 2403.24 IU/g solid เมื่อเพาะเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 7 วัน โดยใช้อัตราส่วน ของราข้าวสาลี (กรัม) ต่อใบยางนา (กรัม) เท่ากับ 8:12 (สูตร E) และจากการระบุ หาสายพันธุ์ของเชื้อราที่คัดแยกได้ พบว่า เชื้อราจากไอโซเลท L1-1 และ I10-2 คือ Penicillium citrinum และ Aspergillus alabamensis ตามลำดับ การ ทดสอบประสิทธิภาพการปรับสภาพใบยางนาด้วยด่าง-กรดที่ความเข้มข้นต่างกัน ย่อยสลายร่วมกับเซลลูโลไลติกเอนไซม์จากเชื้อรา P. citrinum L1-1 และ A. alabamensis I10-2 พบว่าที่ความเข้มข้น 2% NaOH ตามด้วย 2% H2SO4 ทำ ให้ได้น้ำตาลรีดิวซ์สูงสุดเท่ากับ 12.29 และ 12.11 กรัมต่อลิตร ตามลาดับ และ เมื่อนาน้ำตาลที่ได้ไปหมักร่วมกับยีสต์เพื่อผลิตไบโอเอทานอล พบว่า การหมักใบ ยางนาที่ผ่านการย่อยโดยเชื้อ P. citrinum L1-1 ทำให้ได้ผลผลิตเอทานอลสูงที่สุด เท่ากับ 0.40 g ethanol/g sugar คิดเป็น 78.50 เปอร์เซ็นต์ ตามทฤษฎี ดังนั้น ใบยางนาจึงถือเป็นวัสดุทางการเกษตรที่น่าสนใจ เพราะสามารถนำมาใช้เป็น วัตถุดิบในการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในอนาคตได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
บทคัดย่อ (EN) :
คำสำคัญ (TH) :
คำสำคัญ (EN) :
ปีที่พิมพ์ :
2565
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<