งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
1. รองศาสตราจารย์ ดร. เขมวิทย์ จันต๊ะมา 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุนทร กาญจนทวี 3. ดร. อภิชัย สาวิสิทธิ์ 4. นางสาวคิริน โฆ
การผลิตกรดซักซินิกจากแป้งมันและกากมันสำปะหลังด้วยเชื้ออีโคไล ที่ผ่านการดัดแปลงกระบวนการสร้างและสลายสายพันธุ์ KJ122
ซักซิเนตถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมเคมีและการผลิตซักซิเนตจาก เชื้อจุลินทรีย์เป็นทางเลือกที่เป็นที่ต้องการมาก ทั้งนี้ความเป็นไปได้ในการผลิตซักซิ เนตด้วยกระบวนการทางชีวภาพในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้น จะขึ้นอยู่กับ การใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานทดแทนที่ราคาถูกกว่า ดังนั้น การนำวัตถุดิบที่ ได้จากมันสำปะหลังมาใช้ในกระบวนการหมักเพื่อผลิตซักซิเนตอาจทำให้สามารถ เพิ่มการแข่งขันทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการผลิตซักซิเนต จากเชื้อ E. coli KJ122 โดยใช้กากมันสำปะหลังและแป้งมันสำปะหลังเป็นแหล่ง คาร์บอนในระหว่างกระบวนการย่อยและการหมักแบบขั้นตอนเดียว (SSF) และ การย่อยและการหมักที่แยกออกจากกัน (SHF) จากการศึกษาการใช้กาก มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตซักซิเนตโดยเชื้อ E. coli KJ122 ที่ผ่าน การดัดแปลงวิถีการสร้างและการสลาย ด้วยกระบวนการ SHF ภายใต้สภาวะ ไร้ออกซิเจนอย่างง่าย พบว่าซักซิเนตที่ผลิตได้มีความเข้มข้นเท่ากับ 41.46±0.05 g/L มีค่าผลได้เท่ากับ 82.33±0.14 g/100 g กากมันสำปะหลังแห้ง และมีอัตรา ผลผลิตเท่ากับ 0.84±0.02 g/L/h สำหรับการผลิตซักซิเนตด้วยเชื้อ E. coli KJ122 โดยการใช้กระบวนการ SSF แบบกะ ซึ่งใช้กากมันสำปะหลังที่ความเข้มข้น 12% (w/v) เป็นแหล่งคาร์บอนและใช้เอนไซม์อะไมโลกลูโคซิเดส (AMG) 2% และเอนไซม์เซลลูเลส (Cel) 3% (w/v) ในการย่อย ภายใต้สภาวะความเป็นกรด- ด่าง เท่ากับ 6.5 ที่อุณหภูมิ 39 องศาเซลเซียส พบว่าสามารถผลิตซักซิเนตที่มี ความเข้มข้นเท่ากับ 80.86±0.49 g/L มีค่าผลผลิตได้เท่ากับ 70.34±0.37 g/100 g กากมันสำปะหลังแห้ง พร้อมด้วยอัตราการผลิตเท่ากับ 0.84±0.01 g/L/h และ เมื่อใช้กระบวนการ SSF แบบกึ่งกะในการผลิตซักซิเนต พบว่าสามารถช่วยทำให้ ความเข้มข้นของซักซิเนตที่ผลิตได้มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า เท่ากับ 98.63±0.12 g/L มีค่าผลผลิตได้เท่ากับ 71.64±0.97 g/100 g กากมัน สำปะหลังแห้ง และมีอัตราการผลิตเท่ากับ 1.03±0.01 g/L/h จากผลการทดลอง ที่ได้นี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและความคุ้มทุนในการผลิตซักซิเนตจากกากมัน สำปะหลังด้วยกระบวนการ SHF และ SSF โดยเชื้อ E. coli KJ122 เมื่อพิจารณา ในส่วนของการนำแป้งมันสำปะหลังมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตซักซิเนตจาก เชื้อ E. coli KJ122 จากการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดของตัวแปรต่าง ๆ ที่มี ผลต่อการผลิตซักซิเนต โดยซักซิเนตที่ผลิตได้จากกระบวนการ SSF แบบกะ ภายใต้สภาวะในการผลิตที่เหมาะสมที่สุดในถังหมักขนาด 2 ลิตร มีค่าเท่ากับ 70.1±0.10 g/L มีค่าผลได้เท่ากับ 1.00±0.01 g/g กลูโคส และมีอัตราการผลิต เท่ากับ 0.97±0.01 g/L/h เมื่อทำการปรับปรุงการผลิตซักซิเนตต่อไปโดยใช้ กระบวนการ SSF แบบกึ่งกะ พบว่าสามารถช่วยทำให้ค่าความเข้มข้นของซักซิเนต ที่ผลิตได้ (82.5±0.7 g/L) ค่าผลผลิตได้ (1.03±0.01 g/g กลูโคส) ค่าเฉลี่ยอัตรา การผลิต (1.15±0.01 g/L/h) และค่าอัตราการผลิตจำเพาะ (456 mg/g CDW/h) มีค่าเพิ่มขึ้นตามลำดับ เชื้อ E. coli KJ122 สามารถผลิตซักซิเนตที่มีค่าผลผลิตได้ ทางทฤษฎีสูงสุดเท่ากับ 92% และให้ค่าอัตราการผลิตจำเพาะสูงที่สุดเท่าที่เคยมี รายงานมา ทั้งนี้ค่าผลผลิตได้ของซักซิเนตและค่าอัตราการผลิตจำเพาะที่ได้จาก การใช้แป้งมันสำปะหลังในการศึกษานี้มีค่าสูงกว่าค่าที่ได้จากการศึกษาก่อนหน้านี้ เป็นอย่างมาก ฉะนั้น เชื้อ E. coli KJ122 อาจสามารถใช้เป็นเชื้อตั้งต้นในการผลิต ซักซิเนตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มทุนในทางเศรษฐศาสตร์ได้
2560