งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
วันวิสาข์ บุญกล้า อนุศักดิ์ เกิดสิน และปริยาภรณ์ อิศรานุวัฒน์
กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของกระชายขาวที่หมักด้วยแบคทีเรียกรดแลคติก
Antioxidant Activities of Boesenbergia rotunda(L.) Mansf. Fermented withLactic Acid Bacteria
านวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของกระชายขาวที่หมักด้วยเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติก(lactic acid bacteria:LAB)โดยมีปัจจัยที่ศึกษา 2 ปัจจัย ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียกรดแลคติกที่มีคุณสมบัติเป็นโพรไบโอติกจํานวน 10 สายพันธุ์ ได้แก่ แบคทีเรีย Lactobacillus pentosusJM085 L.pentosusJM0812 L.pentosusUM055 L.pentosusUM054L.pentosusYM122 L.pentosusVM096 L.pentosusDM068 L.pentosusVM095 Enterococcus faecalisYM126 และ L.lactisA7 ระยะเวลาในการหมัก ได้แก่ 0 24 48 และ 72 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่าสายพันธุ์และระยะเวลาในการหมักส่งผลต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH radical-scavengingassay(DPPH)และferric reducing antioxidant power (FRAP) assay อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p≤0.05) เมื่อระยะเวลาในการหมักเพิ่มขึ้นส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระโดยกระชายขาวที่หมักด้วยแบคทีเรียL. pentosusDM068 นาน 72 ชั่วโมง มีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH สูงสุดเท่ากับ 83.42±1.30 ไมโครกรัมโทรล็อกซ์ต่อมิลลิลิตร (μg TE/ml)สําหรับค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP พบว่ากระชายขาวที่หมักด้วยแบคทีเรียL. pentosusVM095 นาน 72 ชั่วโมง มีค่าสูงที่สุดเท่ากับ 295.82±2.15 ไมโครกรัมของเฟอร์รัสต่อมิลลิลิตร (μg Fe(II)/ml)การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการหมักกระชายขาวด้วยเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติกสามารถเพิ่มกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถนําไปพัฒนาเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อประโยชน์ทางอุตสาหกรรมอาหารและทางเภสัชศาสตร์ได้
This research aimed to study the antioxidant activities of Boesenbergia rotunda(L.) Mansf., known as fingerroot, fermented with probiotic lactic acid bacteria (LAB). Ten strains of lactic acid bacteria including Lactobacillus pentosusJM085, L.pentosusJM0812, L.pentosusUM055, L.pentosusUM054, L.pentosusYM122, L.pentosusVM096,L.pentosusDM068, L.pentosusVM095, Enterococcus faecalisYM126, and L.lactisA7 were used as starter culture for B. rotunda(L.) Mansf. Fermentation was at 0, 24, 48, and 72 hours. The results showed that the antioxidant activities depended on strains and fermentation time. The antioxidant capacity of fermented B. rotundaextract increased significantly (p≤0.05) when fermentation time increased, using DPPH radical-scavenging assay (DPPH) and ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay. The strongest DPPH scavenging capacity was observed in the sample fermented with L. pentosusDM068 at 72 hours (83.42±1.30 μgTE/ml), while FRAP reported in L. pentosusVM095, at 72 hours (295.82±2.15 μgFe(II)/ml). In conclusion, probiotic lactic acid bacteria fermentation increased the antioxidant activities of B. rotundaextract. Applying the fermentation process for value addition in the food and pharmaceutical industries might be interesting.
กระชายขาวแบคทีเรียกรดแลคติกโพรไบโอติกกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ
Boesenbergia rotunda(L.) Mansf., Lactic acid bacteria, Probiotics, Antioxidant activity
2023