หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
Home
Bio-chemicals
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ
read
ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)
ประเภทงานวิจัย :
งานวิจัยส่วนกลาง
ประเภทงานอุตสาหกรรม :
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
ผู้แต่ง :
ปรีชา ยอดยิ่ง 1 ศิริณา ทองดอนน้อย 1 สิรินภา ช่วงโอภาส 1
ชื่อเรื่อง (TH) :
การคัดแยกแบคทีเรียย่อยสลายเซลลูโลสและประสิทธิภาพของการย่อยสลายซังข้าวโพดและผักตบชวาที่ใช้เป็นซับสเตรต
ชื่อเรื่อง (EN) :
บทคัดย่อ (TH) :
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกแบคทีเรียย่อยสลายเซลลูโลส โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ ศึกษาประสิทธิภาพการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสโดยสังเกตจากโซนใสที่เกิดขึ้นใน อาหาร CMC ประเมินกิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลสที่อุณหภูมิ 30 และ 50 องศาเซลเซียส โดยใช้ซังข้าวโพดและผักตบชวาเป็นซับสเตรต การวิเคราะห์ข้อมูล วัดปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ที่เกิดขึ้น ผลการทดลองแสดงว่า แบคทีเรียที่คัดแยกได้สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลสที่อุณหภูมิสูง อัตราส่วนของโซนใสต่อความกว้างของโคโลนี แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และทำการจัดจำแนกชนิดของแบคทีเรียที่คัดเลือกโดยใช้บริเวณ 16S rRNA ได้เป็น Bacillus sp. strain BDHGL04, Bacillus sp. strain ST-R7 และ Alcaligenes sp. BZC5 ที่ระดับ ความคล้ายคลึง 99, 99 และ 98% ตามลำดับ จากการทดสอบการย่อยสลายซังข้าวโพดเละผักตบชวาพบว่า มีกิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลสสูงกว่าตำรับควบคุม โดยเฉพาะ การใช้ซังข้าวโพดหรือผักตบชวาเป็นซับสเตรตร่วมกับ Bacillus sp. strain BDHGL04 โดยมีกิจกรรมของเอนไซม์เท่ากับ 132.44 และ 138.37 มก./มล. ตามลำดับ เมื่อบ่มที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และแบคทีเรียมีความขุ่นที่ความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร เท่ากับ 0.49 คิดเป็นแบคทีเรียจำนวน 108 ซีเอฟยู/มล. นำแบคทีเรียย่อยสลายเซลลูโลสทั้งสองชนิดมาผลิตเป็นผงเชื้อผสมและ ศึกษาอัตราการย่อยสลายของปุ๋ยหมัก พบว่ามีอัตราการย่อยสลายสูงสุดเท่ากับ 27.22 มก./วัน ในสัปดาห์ที่ 2 จะเห็นได้ว่าแบคทีเรียที่คัดเลือกได้มีศักยภาพในการนำไปใช้เร่งการย่อยสลายของปุ๋ยหมักประเภทซังข้าวโพด และผักตบชวา
บทคัดย่อ (EN) :
คำสำคัญ (TH) :
คำสำคัญ (EN) :
ปีที่พิมพ์ :
2562
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<