งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
เบญจวรรณ คําศรี 1 อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ 2
การผลิตน้ำหมักชีวภาพที่ใช้ตะกอนสลัดจ์เป็นวัสดุหมักร่วม
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนําตะกอนสลัดจ์จากระบบบําบัดนํ้าเสียทางชีวภาพ แอกติเวทเต็ดสลัดจ์มาใช้เป็นวัสดุหมักร่วมกับเศษอาหาร ตะกอนสลัดจ์ที่นำมาใช้ในการทดลองได้จากถังตกตะกอนขั้นที่สองของระบบบําบัดนํ้าเสียทางชีวภาพระบบแอกติเวทเต็ดสลัดจ์จากโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีส่วนเศษอาหารเก็บรวบรวมจากโรงอาหารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการทดลอง โดยปรับเปลี่ยนอัตราส่วนตะกอนสลัดจ์ต่อเศษอาหาร 4 ค่า คือ 10:90 20:80 100:0 และ 0:100 ทำการหมักในระบบปิดไร้ ออกซิเจน เป็นระยะเวลา 28 วัน ศึกษากระบวนการย่อยสลายแบบไร้ ออกซิเจนของนํ้าหมักชีวภาพ ปริมาณธาตุอาหารและทดสอบความเป็นพิษของนํ้าหมักชีวภาพ ต่อพืช พบว่า ตะกอนสลัดจ์สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุหมักร่วมกับเศษอาหารในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพ จะส่งผลให้ค่าซีโอดีลดลงอย่างรวดเร็วภายในเวลา 7 วัน ซึ่งค่าพีเอชของนํ้าหมักชีวภาพที่ได้มีค่าพีเอชตํ่ากว่า 6 จากผลการวิเคราะห์ปริมาณ ธาตุอาหารหลักในนํ้าหมักชีวภาพ ได้แก่ ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เมื่อใช้อัตราส่วน ตะกอนสลัดจ์ต่อเศษอาหาร เท่ากับ 10:90จะทําให้นํ้าหมักชีวภาพที่ได้มีปริมาณธาตุอาหารเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ การใช้เศษอาหารอย่างเดียว เมื่อพิจารณาดัชนีการงอกของเมล็ด ทุกอัตราส่วนผสมมีดัชนีการงอกของเมล็ดเกิน 80
-