งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
สุภาวดี ผลประเสริฐ
การปรับสภาพวัตถุดิบพวกลิกโนเซลลูโลสสำหรับการผลิตเอทานอล
การนำพืชอาหารมาใช้ผลิตเอทานอลอาจส่งผลให้ราคาสินค้าอาหารปรับสูงขึ้น ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยี การผลิตเอทานอลจึงมุ่งเน้นไปใช้วัตถุดิบประเภทอื่นมาทดแทน การนำเอาของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ที่อยู่ในรูปลิกโน เซลลูโลสมาผลิตเอทานอลเริ่มได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่เป็นจำนวนมากและมีราคาถูกแต่วัตถุดิบพวกลิกโนเซลลูโลสประกอบด้วยเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน มีองค์ประกอบที่ย่อยสลายได้ยากทางชีวภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับสภาพวัตถุดิบเหล่านี้ก่อนนำไปผลิตเอทานอล กระบวนการปรับสภาพวัตถุดิบสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ การปรับสภาพทางกายภาพ การปรับสภาพทางกายภาพร่วมกับเคมี การปรับสภาพทางเคมีและการปรับสภาพทางชีวภาพ ทั้งนี้กระบวนการที่เหมาะสมในการปรับสภาพขึ้นอยู่กับชนิดและลักษณะสมบัติของวัตถุดิบที่นำมาใช้ดังนั้นบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการต่าง ๆ ในการปรับสภาพวัตถุดิบพวกลิกโนเซลลูโลสก่อนนำไปผลิตเอทานอลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนในการผลิตเอทานอล
2557