งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
นวัฒน์ เกตุสวัสดิวงศ์1 ธีระชัย ธนานันต์1 นฤมล ธนานันต์2
การคัดกรองและลักษณะเฉพาะของแบคทีเรียกรดแลคติกจากน้ำพริก
น้ำพริกเป็นอาหารของคนไทยที่ประกอบไปด้วยวัตถุดิบ เครื่องปรุง และสมุนไพรต่าง ๆ หลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น แบคทีเรียกรดแลคติกที่สามารถพบได้ในอาหารซึ่งเกิดเมื่อการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจนจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดแลคติกที่สามารถช่วยยืดอายุในการเก็บรักษาอาหาร รวมทั้งสามารถป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคได้ งานวิจัยนี้ ได้คัดกรองแบคทีเรียกรดแลคติกน้ำพริก โดยเพาะเลี้ยงในอาหาร de Man Regosa Sharpe agar (MRS) ที่มี แคลเซียมคาร์บอนเนต 1 เปอร์เซ็นต์ จากน้ำพริก 5 ชนิด พบแบคทีเรียทั้งหมด 29 ไอโซเลต เป็นแบคทีเรียกรดแลคติก 14 ไอโซเลต และ Pseudomanas spp. 15 ไอโซเลต ตามลำดับ เมื่อตรวจสอบลักษณะสัณฐานและทดสอบทางชีวเคมี พบว่า มีความมั่นใจว่าเป็นแบคทีเรียกรดแลคติก สกุลต่าง ๆ ได้แก่ Lactobacillus spp. Weisella spp. และ Leuconostoc spp. เป็นต้น เมื่อวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ขนาดประมาณ 1,500 คู่เบส ของยีน 16S rRNA โดยการใช้โปรแกรม BLASTN เปรียบเทียบกับข้อมูลใน GenBank ของ NCBI พบว่าสามารถแยกชนิดของแบคทีเรียกรดแลคติกสกุลต่าง ๆ ได้เป็น Lactobacillus 4 ชนิด Weisella 1 ชนิด และ Leuconostoc 1 ชนิด และเมื่อสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการวิเคราะห์การจัดกลุ่มพบว่าสามารถแบ่งกลุ่มและแยกความแตกต่างทางพันธุกรรมของแบคทีเรียได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2558