งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Biochemicals)
เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ1 สุนีย์ โชตินีรนาท1 รุ่งทิวา วันสุขศรี2 กล้าณรงค์ ศรีรอต2,3
การเตรียมและคุณสมบัติของโปรตีนในแป้งข้าว
Preparation and properties of protein in rice flour
ในการผลิตแป้งข้าวเจ้าโปรตีนตํ่า (rice starch) เพื่อเพิ่มมูลค่าของปลายข้าว ด้วยวิธีการใช้สารละลายเบสในการกำจัดโปรตีน จะทำให้โปรตีนในแป้งข้าวละลายอยู่ในสารละลายเบส ซึ่งสามารถตกตะกอนโปรตีนได้ด้วยวิธีการปรับพีเอช จุดมุ่งหมายของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อทำ การวิเคราะห์คุณภาพทางโภชนาการ และคุณสมบัติทางหน้าที่ของโปรตีนข้าวซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากการผลิตแป้งข้าวโปรตีนตํ่า โดยจะทำ การตกตะกอนโปรตีนด้วยกรดไฮโดรคลอริก 1 นอร์แมล หลังจากสกัดโปรตีน ภาวะของการสกัดโปรตีนจากปลายข้าวหอมมะลิด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 0.45 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลานาน 24 ชั่วโมง จะได้โปรตีนข้าวที่มีร้อยละของโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบเท่ากับ 89.92 โปรตีนข้าวที่สกัดได้จะมีไลซีนเป็นองค์ประกอบ 2.2 กรัมต่อโปรตีน 100 กรัม เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับนํ้า พบว่า ความสามารถในการดูดซับนํ้าของโปรตีนข้าว (3.48 กรัมต่อกรัม) สูงกว่าหางนม (0.50 กรัมต่อกรัม) และไข่แดง (2.50 กรัมต่อกรัม) แต่ความสามารถในการละลายของโปรตีนข้าวตํ่ากว่า (ร้อยละของการละลายของโปรตีนข้าว และหางนมเท่ากับ 5.08 และ 93.44 ตามลำดับ) ในขณะที่ความสามารถในการเกิดฟองของโปรตีนข้าว (ร้อยละ 11.70) ตํ่ากว่าหางนม (ร้อยละ 20) และไข่ขาว (25.46 เปอร์เซ็นต์) คุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของโปรตีนข้าว คือ คุณสมบัติการเกิดอิมัลชัน เมื่อเทียบกับไข่แดงพบว่า โปรตีนข้าวจะมีคุณสมบัติการเกิดอิมัลชันที่ดีทั้งความสามารถช่วยการเกิดอิมัลชัน (64.20 เปอร์เซ็นต์) และความสามารถช่วยความคงตัวของอิมัลชัน (66.17 เปอร์เซ็นต์) ดีกว่าไข่แดง (ความสามารถช่วยการเกิดอิมัลชัน และความสามารถช่วยความคงตัวของอิมัลชัน 59.16 และ 30.97 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า โปรตีนข้าวสามารถใช้เป็นสารอีมัลซิไฟเออร์ที่ดีสามารถนำ ไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารได้
-