หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
ข้อมูลเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
Home
Bio-Plastics
ข้อมูลเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
read
ข้อมูลเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
ผู้แต่ง :
ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ นักวิจัย ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์
ชื่อเรื่อง (TH) :
เทคโนโลยีเอนไซม์รักษ์โลก ทดแทนสารเคมีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ชื่อเรื่อง (EN) :
-
บทคัดย่อ (TH) :
ในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธ ได้ว่า กระแสอนุรักษ์นิยมสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ผู้สนใจในวงกว้าง และมีแนวโน้มจะขายมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำลายสิ่งแวดล้อมมีให้ทุกคนเห็นอย่างชัดเจนตลอดมา ดังนั้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความ รู้สึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมได้ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีกระบวนการที่ใช้สารเคมี และพลังงานสูง ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะและปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง จึงได้มีการค้นคว้าวิจัย เทคโนโลยีเอนไซม์ “เอนอีซ”(ENZease) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ลดการใช้สารเคมี ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการผลิตเส้นใย ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือกระบวนการตกแต่งสำเร็จในผ้าผืน ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ นักวิจัย ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ผู้ค้นพบเอนไซม์ เอนอีซ กล่าวว่า “สำหรับเอนไซม์ตัวนี้ จุดเริ่มต้นคือ เราอยากจะทำให้กระบวนการทางสิ่งทอ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงใช้ความเชี่ยวชาญทางด้านการใช้ประโยชน์จากเชื้อจุลินทรีย์ ในการที่จะผลิตเอนไซม์ จากเชื้อจุลินทรีย์ขึ้นมา เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีในการลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียว” “เอนอีซ” เป็นเอนไซม์ที่ผลิตได้จากการหมักเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยใช้จุลินทรีย์ที่คัดเลือกจากศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (Thailand Bioresource Research Center: TBRC) ซึ่งจุลินทรีย์นี้สามารถสร้างเอนไซม์ได้ทั้งอะไมเลส และเพคติเนส ในเวลาเดียวกันเรียกได้ว่าเป็น “เอนไซม์อัจฉริยะ” ที่สามารถทำงานได้ดีในช่วงค่าพีเอช (pH) และอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกัน คือ pH 5.5 และที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงมีจุดเด่นคือ ไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพความแข็งแรงของผ้า สามารถลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายได้พร้อมกันในขั้นตอนเดียวภายในเวลา 1 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งช่วยประหยัดเวลา ประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนในการผลิต และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพของผ้าฝ้ายให้มีคุณภาพสูงมากกว่าที่ใช้สารเคมี เนื่องจาก เอนไซม์เอนอีซจะทำปฏิกิริยาแบบจำเพาะเจาะจง ต่างจากสารเคมีที่ทำลายเส้นใยผ้า ซึ่งจะส่งผลให้ผ้ามีความแข็งแรง น้ำหนักลดลง และเนื้อผ้านิ่ม เหมาะสมสำหรับการสวมใส่
บทคัดย่อ (EN) :
-
คำสำคัญ (TH) :
-
คำสำคัญ (EN) :
-
ปีที่พิมพ์ :
2562
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<