หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยส่วนภูมิภาค
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัยจากส่วนกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
Home
Bio-Plastics
งานวิจัยจากส่วนกลาง
Bioplastics Research Services ?
ผลงานวิจัยจากส่วนกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
5 อันดับผลงานล่าสุด
ที่ถูกอัพเดทในฐานข้อมูล
อิทธิพลของพอลิแอลแลกติกแอซิดที่มีต่อโครงเลี้ยงเซลล์เจลาตินเพื่อการประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อ
: ฟ้าใส วิวัฒน์วงศ์วนา ณัฐวิทย์ พรหมมา ฤทธิชัย สังฆทิพย์ และ มนัส ศรีสวัสดิ์
Views: 33
: 02 พฤษภาคม 2568 14:13:47
ในงานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของการผสมพอลิแอลแลกติกแอซิดในโครงเลี้ยงเซลล์เจลาติน โดยโครงเลี้ยงเซลล์เจลาตินขึ้นรูปด้วยวิธีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง และผสมพอลิแอลแลกติกแอซิดในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน โครงสร้างพื้นผิวโดยรวมของโครงเลี้ยงเซลล์เจลาติน/พอลิแอลแลกติกแอซิดแบบต่าง ๆ ถูกวิเคราะห์โดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscopy: SEM) การผสมพอลิแอลแลกติกแอซิดในโครงเลี้ยงเซลล์เจลาตินส่งผลให้โครงเลี้ยงเซลล์มีลักษณะพื้นผิวโดยรวมเกิดการเกาะกลุ่มของโมเลกุลพอลิแอลแลกติกแอซิด ส่งผลให้รูพรุนของโครงเลี้ยงเซลล์มีขนาดเล็กลงเมื่อเพิ่มปริมาณพอลิแอลแลกติกแอซิดในบางอัตราส่วน จากการทดสอบอัตราการบวมน้ำของโครงเลี้ยงเซลล์เจลาติน/พอลิแอลแลกติกแอซิดโดยแช่ในสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณพอลิแอลแลกติกแอซิดในโครงเลี้ยงเซลล์เจลาติน อัตราการบวมน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการบวมน้ำของโครงเลี้ยงเซลล์เจลาตินเพียงอย่างเดียว ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการผสมพอลิแอลแลกติกแอซิดในโครงเลี้ยงเซลล์เจลาตินส่งผลให้โครงเลี้ยงเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพ โดยขนาดรูพรุนโดยรวมมีขนาดเล็กลง เนื่องจากโมเลกุลของพอลิแอลแลกติกแอซิดที่เคลือบบนพื้นผิวโครงเลี้ยงเซลล์ และพอลิแอลแลกติกแอซิดยังช่วยทำให้โครงสร้างเจลาตินมีอัตราการบวมน้ำที่สูงขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณพอลิแอลแลกติกแอซิด ซึ่งอัตราการบวมน้ำที่สูงขึ้นนี้เหมาะสมกับการนำโครงเลี้ยงเซลล์ไปประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อผิวหนัง....
อ่านต่อ
การพัฒนาและตรวจสอบโฟม PLA/PBS/เส้นใยเปลือกทุเรียนสำหรับประยุกต์ใช้เป็นวัสดุรองนอนสำหรับสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการ
: กชกร จิตรีธาตุ ชิราวุฒิ เพชรเย็น เบญญา เชิดหิรัญกร และ สุรเชษฐ์ ตุ้มมี
Views: 30
: 19 มีนาคม 2568 08:25:46
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการผลิตวัสดุรองนอนจากเส้นใยปลือกทุเรียนผสมกับพอลิ-แลกติกแอซิดและพอลิบิวทิลีนซัคซิเนตโดยมีการเติมอินดิเคเตอร์ตรวจวัดปริมาณยูเรียที่ปลดปล่อยมาของสัตว์ทดลองเพื่อจะใช้ในการเปลี่ยนวัสดุรองนอน โดยวัสดุรองนอนพอลิเมอร์เชิงประกอบนี้เตรียมด้วยกระบวนการหลอมผสมด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวหนอนคู่ โดยมีส่วนผสมของ PLA:PBS:DRF ที่อัตราส่วน 100:0:0, 0:100:0, 40:60:0, 40:60:5, 40:60:10 และ 40:60:15 โดยกำหนดปริมาณเส้นใยจากเปลือกทุเรียน (phr) ตามลำดับ และมีการเติมแอนโทไซยานิน 3.8%WV และมีศึกษา ....
อ่านต่อ
การลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางนาโนไฟบริลเซลลูโลสที่สกัดจากฟางข้าวด้วยกระบวนการปั่นเชิงกล เพื่อประยุกต์ใช้เป็นวัสดุเสริมแรงของฟิล์มพลาสติกชีวภาพโพลีไวนิลแอลกอฮอล์/นาโนไฟบริลเซลลูโลส
: ประสบพร จุลบุตร์, สุพรรณี ปริญญาวุฒิชัย, และพิไลพร หนูทองคํา
Views: 33
: 17 เมษายน 2568 11:05:59
ในงานวิจัยนี้ทําการลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางนาโนไฟบริลเซลลูโลสที่สกัดจากฟางข้าวเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยกระบวนการปั่นเชิงกล เพื่อประยุกต์ใช้เป็นวัสดุเสริมแรงของฟิล์มพลาสติกชีวภาพโพลีไวนิลแอลกอฮอล์/นาโนไฟบริลเซลลูโลส การลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยเซลลูโลสภายใต้เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงเวลาในการปั่นเชิงกล0,30 และ 60 นาที ที่ความเร็วรอบ 25,000 รอบต่อนาที ผลการศึกษาพบว่าเวลาในการปั่น60 นาที ส่งผลต่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยเซลลูโลสจาก5.01 ±0.38 ไมโครเมตรลดลงเป็น 16.31 ±1.31นาโนเมตร ลักษณะทางกายภ ....
อ่านต่อ
การพัฒนาแผ่นไม้เทียมจากพลาสติกชีวภาพรีไซเคิลผสมผงกะลามะพร้าว
: ภควัต เกอะประสิทธิ์ อดิศรจรัลวรกูลวงศ์ และ อิทธิ ผลิตศิริ
Views: 44
: 26 กุมภาพันธ์ 2568 17:04:43
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผ่นไม้เทียมจากพลาสติกชีวภาพรีไซเคิลผสมผงกะลามะพร้าวส าหรับปัญหาปริมาณขยะในชุมชน ซึ่งแผ่นไม้เทียมจะมีส่วนประกอบของพลาสติกโพลีแลกติกแอซิด (PLA) ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพผสมกับผงกะลามะพร้าววัสดุเชิงประกอบนี้เป็นช่องทางที่มีศักยภาพในการน าขยะพลาสติกชีวภาพกลับมาใช้ใหม่ โดยเฉพาะ PLA และกะลามะพร้าวที่เหลือจากชุมชนและการเกษตรกรรมมาเป็นวัสดุผสม กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการบดและการอัดวัสดุเชิงประกอบด้วยความร้อนโดยใช้เครื่องอัดขึ้นรูปร้อน อัตราส่วนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ม ....
อ่านต่อ
สมบัติทางกลสมบัติทางความร้อนและสมบัติต้านการซึมผ่านของฟิล์มคอมโพสิตชีวภาพพอลิบิวทิลีนอะดิเพต-โค-เทเรฟทาเลตด้วยการเติมนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตและกลีเซอรอล
: Kannika Yimnak and Atchareeya Nopwinyuwong
Views: 44
: 04 กุมภาพันธ์ 2568 15:40:59
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติทางกล สมบัติทางความร้อน และสมบัติต้านการซึมผ่านของฟิล์มพลาสติกชีวภาพพอลิบิวทิลีนอะดิเพต-โค-เทเรฟทาเลต (PBAT) ด้วยการเติมนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตและกลีเซอรอล ขั้นตอนแรกเป็นการเตรียมเม็ดพลาสติกคอมพาวนด์ที่ผสมนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตในอัตราส่วน 5%, 7% และ 10% โดยน้ำหนัก และกลีเซอรอล 5 ส่วนในร้อยส่วน ด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ จากนั้นขึ้นรูปเป็นฟิล์มด้วยกระบวนการเป่าฟิล์ม จากผลการทดลองพบว่า การผสมนาโนแคลเซียมคาร์บอเนต 5% โดยน้ำหนัก (PBAT5C) สามารถเพิ่มค่าความต้ ....
อ่านต่อ
Displaying all of Bioplastics Research
Loading...