หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัยจากส่วนท้องถิ่น กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
Home
Bio-Plastics
งานวิจัยจากส่วนท้องถิ่น
Bioplastics Research Services ?
ผลงานวิจัยส่วนท้องถิ่น กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
5 อันดับผลงานล่าสุด
ที่ถูกอัพเดทในฐานข้อมูล
ศึกษาการเตรียมพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้จากฟางข้าวและและไคโตซาน
: จันทิมา ชั่งสิริพร พฤกระยา พงศ์ยี่หล้าและนิรณา ชัยฤกษ์
Views: 225
: 18 มีนาคม 2567 09:12:30
การผลิตพลาสติกชีวภาพจากเส้นใยธรรมชาติสำหรับใช้ทดแทนพอลิเมอร์สังเคราะห์ได้รับความสนใจในปัจจุบันเนื่องจากสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ การศึกษานี้เตรียมพลาสติกชีวภาพของเซลลูโลสจากฟางข้าวและใช้ไคโตซานเป็นเมทริกซ์พอลิเมอร์ ศึกษาผลของการใช้เส้นใยจากฟางข้าว 2แบบ คือ เส้นใยเซลลูโลสดิบ (Digested rice straw fiber:DRF) และเส้นใยเซลลูโลสฟอกสี (Bleached rice straw fiber:BRF) ที่อัตราส่วน 2.0:0 1.5:0.5 0.5:1.5 และ 0:2.0 ทำการผสมเส้นใยฟางข้าวร้อยละ 50 ไคโตซานร้อยละ 25 และกลีเซอรอลร้อยละ 25 โดยน้ำหนักจากปริมาณของของแข็งทั้งหมด แล้วนำมาเทขึ้นรูปแบบแผ่นที่อุณหภูมิห้องและอบแห้งเป็นแผ่นพลาสติกชีวภาพ จากนั้นนำไปศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของแผ่นพลาสติกชีวภาพด้วยเทคนิคการวัดความต้านทาน (Tensile Test) ลักษณะโครงผลึก (X-ray diffraction:XRD) ความเสถียรทางความร้อน (Thermogravimetric Analysis:TGA) และลักษณะพื้นผิว (Scanning Electron Microscopy:SEM) รวมไปถึงความสามารถในการย่อยสลายของแผ่นพลาสติกชีวภาพ ผลการวิจัยพบว่า เมื่ออัตราส่วนของเส้นใย DRF เพิ่มขึ้นทำให้ค่าความต้านทานแรงดึงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 3.4 เป็น 5.9 เมกกะปาสคาล ส่วนค่าการยืดตัว ณ จุดขาด ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จาก 9.0 เป็น 6.0 เปอร์เซ็นต์ จากการทดสอบ XRD สะท้อนให้เห็นถึงพันธะที่ดีระหว่างเส้นใยฟางข้าวและเมทริกซ์ของไคโตซาน ซึ่งผล TGA แสดงถึงสามารถทนความร้อนได้ถึง 160 องศาเซลเซียส และจากผลของ SEM พลาสติกที่ได้มีลักษณะพื้นผิวขรุขระ นอกจากนี้เมื่อเวลาผ่านไป 60 วัน มีอัตราการย่อยสลายร้อยละ 58.83 ผลงานนี้มีศักยภาพสูงในการนำไปใช้เป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทดแทนพลาสติกสังเคราะห์จากปิโตรเลียม....
อ่านต่อ
การผลิตพลาสติกชีวภาพชนิดพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตจากเปลือกสับปะรดเหลือทิ้ง
: ดร.วันกุศล ชนะสิทธิ์
Views: 187
: 18 มีนาคม 2567 09:12:22
งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกแบคทีเรียทีมีศักยภาพสูงในการผลิต PHA จากเปลือกสับปะรดเหลือทิ้ง (pineapple peel residue, PPR) และหาภาวะทีเหมาะสมในการเจริญและการผลิต PHA จากนั้นจึงระบุชนิดและปริมาณโมโนเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบและศึกษาสมบัติบางประการของ PHA ที่ผลิตได้ เมื่อวิเคราะห์หาองค์ประกอบในเปลือกสับปะรดเหลือทิ้งก่อนการปรับสภาพพบว่า ประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นประมาณ 23.20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ต่อมาจึงปรับสภาพเปลือกสับปะรดเหลือทิ้งในสารละลายกรดซัลฟิวริกร่วมกับการให้ความร้อนที่อุ ....
อ่านต่อ
พฤติกรรมและจลนศาสตร์การเกิดผลึกของพอลิแลกไทด์ผ่านกระบวนการก่อ ผลึกแบบเนื้อผสมและการเสริมสภาพพลาสติก
: วรศักดิ์ เพชรวโรทัย และ นีรนุช ภู่สันติ
Views: 211
: 19 กันยายน 2566 14:51:30
พอลิแลกไทด์เป็นหนึ่งในวัสดุย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่นิยมนำมาใช้ทดแทน พลาสติกทั่วไปที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และตกค้างในสิ่งแวดล้อมกลายเป็น ปัญหาขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากขยะพลาสติกเหล่านี้ไม่ สามารถกำจัดได้ทันกับปริมาณที่ใช้ในแต่ละวัน พอลิแลกไทด์เป็นเทอร์โม- พลาสติกในกลุ่มพอลิเอสเทอร์ซึ่งได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์ มีสมบัติที่โดด เด่นหลายประการ เช่น สมบัติเชิงกลสูง มีความใส ขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม การยืดตัวได้น้อย ความเป็นผลึกตํ่า และอัตราการเกิด ผ ....
อ่านต่อ
การประยุกต์ใช้แป้งมันสำปะหลัง 2 สายพันธ์ุ เพื่อผลิตถุงเพาะชำพลาสติก ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
: ภาวิณี เทียมดี และ บวรรัตน์ บึ้งสลุง
Views: 269
: 15 สิงหาคม 2566 14:11:17
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กลีเซอรอลเป็นพลาสติไซเซอร์ ต่อสมบัติทางกายภาพ และทางกลของแผ่นฟิล์มจากแป้งมันสำปะหลัง 2 สาย พันธุ์ (พันธุ์ 5 นาทีและระยอง 2) โดยฟิล์มนี้เตรียมโดยการละลายแป้งมัน สำปะหลังในน้ำ ให้มีความเข้มข้นร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก และศึกษาผลของ ปริมาณกลีเซอรอล 4 ระดับ คือร้อยละ 0, 20, 30 และ 40 โดยน้ำหนักของแป้ง ขึ้นรูปแผ่นฟิล์มโดยการทำแห้งที่ 60 องศาเซลเซียส นาน 18 ชั่วโมง นำ แผ่นฟิล์มที่ได้ไปทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและเชิงกล ได้แก่ ความหนา ค่า แอคติวิตีของน้ำ (aw ....
อ่านต่อ
การผลิตพอลิเมอร์พลาสติกชีวภาพจากแป้งมันสาปะหลังโดยแบคทีเรียสาย พันธุ์เฉพาะ
: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีลักษณ์ รอดทอง
Views: 223
: 15 สิงหาคม 2566 14:09:00
การผลิตพอลิเมอร์พลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพเป็นที่สนใจ เพื่อใช้ทดแทน พลาสติกจากปิโตรเคมี พอลิไฮดรอกซีแอลคาโนเอท (พีเอชเอ) เป็นพอลิเมอร์ พลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพชนิดหนึ่ง ที่ได้จากกระบวนการทางชีวภาพของ จุลินทรีย์ และมีศักยภาพในการใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์และบรรจุภัณฑ์ การ ผลิตพอลิเมอร์พลาสติกชีวภาพชนิดพีเอชเอนี้ยังมีข้อจำกัดด้านวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และกรรมวิธีการสกัด ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตสูงและมีความ เสี่ยงจากตัวทำละลายอันตรายที่ใช้เป็นสารสกัด การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งพัฒนา กระบวนการผลิตพ ....
อ่านต่อ
Displaying all of Bioplastics Research
Loading...