งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ , ประภัสสร รักถาวร , เมทิกา ลีบุญญานนท์
สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การต้านอนุมูลอิสระ และการต้านเชื้อแบคทีเรียก่อสิวของสารสกัดจากเปลือกผลไม้
(Bioactive compounds content, free radical scavenging and anti-acne inducing bacteria activities of
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การต้านอนุมูลอิสระ และการต้านเชื้อแบคทีเรียก่อสิวของสารสกัดเอทานอลของเปลือกกล้วย, ส้มโอ, ลิ้นจี่, ลำใย, มังคุด, ทับทิม และเงาะ พบว่า เปลือกเงาะให้ปริมานสารสกัดสูงที่สุด (54.45 เปอร์เซ็นต์ w/w) และพบว่า สารสกัดจากเปลือกเงาะ ทับทิม และมังคุดมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิคในปริมาณสูง (345.49, 250.85 และ206.90 มิลลิกรัม GAE/กรัมสารสกัด ตามลำดับ) และสารสกัดจากเปลือก เงาะ มังคุด และลำใยมีสารฟลาโวนอยด์ในปริมาณสูง 75.04, 68.92 และ 62.92 มิลลิกรัมCE/กรัมสารสกัด) เมื่อนำมาทดสอบต้านอนุมูลอิสระพบว่า สารสกัดจากเปลือกเงาะมีประสิทธิภาพต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุดรองลงมาได้แก่ สารสกัดจากเปลือกทับทิม และสารสกัดจากเปลือกลิ้นจี่ ตามลำดับ การทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อสิว 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Staphylococcus aureus, S. epidermidis และ Propionibacterium acnes พบว่า สารสกัดจากเปลือกทับทิมมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อ S. aureus และ S. epidermidis ได้ดีที่สุด และสารสกัดจากเปลือกมังคุดมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ P. acnes ได้ดีที่สุด จากการศึกษาพบว่าเปลือกผลไม้มีศักยภาพนำมาใช้เป็นสารต้านอนูมูลอิสระและต้านแบคทีเรียก่อสิวได้ดี
2553