หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
Home
Bio-pharmaceuticals
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์
read
ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)
ประเภทงานวิจัย :
งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
ประเภทงานอุตสาหกรรม :
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
ผู้แต่ง :
อามีนา สาแม1,4 อัษฎาวุธ หิรัญรัตน์ 2 สมพงศ์ โอทอง 3,4 พฤทฐิภร ศุภพล 3 นุกูล อินทระสังขา 3,4
ชื่อเรื่อง (TH) :
สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของราเอนโดไฟท์ที่แยกจากสาหร่ายทะเลในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคบางชนิด
ชื่อเรื่อง (EN) :
Bioactive compounds of endophytic fungi isolated from seaweeds inhibiting some pathogen bacteria
บทคัดย่อ (TH) :
การคัดแยกราเอนโดไฟท์จากสาหร่ายทะเลจานวน 8 สายพันธุ์ ใน 4 จังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย พบว่ามีจานวนราเอนโดไฟท์ทั้งหมด 82 ไอโซเลต และสามารถจัดจาแนกราด้วยวิธีสัณฐานวิทยาและอณูชีวโมเลกุล ออกได้เป็น 3 สกุล 4 สปีสีช์ และไม่สามารถจาแนกราได้จานวน 25 ไอโซเลต ได้แก่ Penicillium spp. Aspergillus fumigates, Aspergillus niger, Aspergillus flavus, Aspergillus rhizopodus และ Rhizopus spp. เมื่อนาราเอนโดไฟท์ข้างต้นมาทดสอบการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดด้วยวิธี Agar plug diffusion พบว่า A. rhizopodus มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดดีที่สุด จึงเลือก A. rhizopodus มาสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพด้วยวิธี sequential solvent separation โดยใช้ตัวทาละลาย 2 ชนิด คือ เอทธิลอะซิเตทและเมทานอล จากนั้นนาสารสกัดหยาบมาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดด้วยวิธี Agar well diffusion พบว่า สารสกัดหยาบจากเอทธิลอะซิเตทมีประสิทธิภาพยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดและแบคทีเรียก่อโรคที่ดื้อยาปฏิชีวนะทั้ง 9 สายพันธุ์ ได้แก่ Bacillus cereus, Staphylococcus aureus ATCC 25923, Aeromonas hydrophila, Escherichia coli ATCC 25922, Klebsiella pneumoniae ATCC 700603, Pseudomonas aeruginosa ATCC 27853, Salmonella Stratford (ESBL), Salmonella Typhimurium (ESBL) และ Salmonella Weltevreden (ESBL) และสามารถยับยั้งแบคทีเรียที่ดีที่สุด 3 สายพันธุ์ คือ E. coli ATCC 25922 (Clear zone = 38.65±0.03 มิลลิเมตร), S. aureus ATCC 25923 (Clear zone = 37.25±0.00 มิลลิเมตร) และ S. Weltevreden (ESBL) (Clear zone = 36.29±3.31 มิลลิเมตร) ที่ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ผลที่ได้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% (P<.01) ซึ่งการที่สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของราเอนโดไฟท์สามารถยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดได้ดีเป็นผลมาจากส่วนประกอบสาคัญของกลุ่มสาร secondary metabolites ที่ได้จากราเอนโดไฟท์ ซึ่งจะมีการศึกษาต่อไปถึงองค์ประกอบของสารข้างต้นและประโยชน์ของสาร เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาสารข้างต้นต่อไป
บทคัดย่อ (EN) :
คำสำคัญ (TH) :
คำสำคัญ (EN) :
ปีที่พิมพ์ :
2560
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<
เอกสารแนบ :