งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
1. รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร. มณฑารพ ยมาภัย 2. อาจารย์ ดร. พัตรา สุนทรฐิติเจริญ
การโคลน และการศึกษาคุณสมบัติของเอนไซม์ DNA helicase จากเชื้อมาลาเรียซึ่งเป็นเป้าหมายของยารักษาโรคมาลาเรียตัวใหม่
Cloning and Characterization of Malarial DNA helicase: a novel anti-malarial drug target
พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม เป็นเชื้อโปรโตซัว ที่ทาให้เกิดโรคมาลาเรีย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโรคหนึ่ง ในเขตร้อน และกึ่งร้อน ของโลก อีกทั้งยังเป็นโรคที่ยังต้องการยารักษาที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเชื้อมีการดื้อยา การผลิตวัคซีนต่อโรคยังไม่ประสพผลสำเร็จ และ การกำจัดยุงพาหะก็ยังมีปัญหา เนื่องจากมีการดื้อต่อยากำจัดยุง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องหาเป้าหมายใหม่ของยา เพื่อการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน หนึ่งในเป้าหมายที่น่าสนใจคือ เอนไซม์ ดี เอน เอ เฮลิเคส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่คลายเกลียว ดีเอนเอ เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดได้ โครงการวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาเอนไซม์เฮลิเคส ตัวใหม่ ที่ยังไม่เคยมีรายงานการวิจัยมาก่อน โดยเริ่มตั้งแต่การโคลน การแสดงออก และวิเคราะห์คุณสมบัติทางชีวเคมีต่างๆ ของ เอนไซม์ ซึ่งเตรียมได้จาก จากยีน PfI0910w ผลการวิจัยพบว่าสามารถทำการโคลน และ แสดงออกเอนไซม์โดยใช้ระบบการแสดงออกใน อี โคไล ได้สำเร็จ เรียกเอนไซม์ที่ผลิตขึ้นมาได้ว่า PfDHA86 โดยพบว่าสามารถผลิตเอนไซม์ได้ที่ระดับ ๐.๓๙๕ มิลิกรัม ต่อ สารเลี้ยงเชื้อ ๑ ลิตร โดยเอนไซม์ ดีเอนเอ เฮลิเคส ปรับแต่งพันธุกรรมที่ผลิตขึ้นมาได้มีขนาด ๘๕.๕ กิโลดาลตัน ผลจากการวิเคราะห์คุณสมบัติในการทำกิจกรรมพบว่า สามารถทำงานได้ดีเมื่อใช้พลังงานจากการย่อย ATP, ทางานลดลงเล็กน้อยเมื่อใช้ dATP, และทางานได้น้อยเมื่อใช้ dCTP, dGTP, dTTP เป็นแหล่งพลังงาน อีกทั้งยังต้องการ Mg2+ ในการทำงาน และถูกยับยั้งการทำงานโดย 200 mM KCl, 200 mM NaCl และ EDTA เอนไซม์สามารถคลายเกลียว ดีเอนเอ สายคู่ ทั้งแบบสายสั้นและสายยาว จากการศึกษาผลของยา ในการทางานของเอนไซม์พบว่า ยา ในกลุ่มแอนทราไซคลิน ได้แก่ daunorubicin และ doxorubicin สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้ โดยมีค่า IC50 ของ daunorubicin และ doxorubicin เท่ากับ 30 และ 23 µM ตามลำดับ องค์ความรู้ที่ได้นี้จะสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนายารักษาโรคมาลาเรียตัวใหม่ และยังเป็นองค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกลไกการทางานของเอนไซม์ เฮลิเคสในสิ่งมีชีวิต เชิงลึก อีกด้วย
2559