งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
นางสาวปนัดดา เทพอัคศร หัวหน้าโครงการ , นางนงลักษณ์ พุทธิรักษ์กุล (ผู้ร่วมวิจัย), นายอภิชัย ประชาสุภาพ (ผู้ร่วมวิจัย) ,นางสาวอณิชา เลื่องชัยเชวง (ผู้ร่วมวิจัย) ,นางสาวกชรัตน์ จงปิติทรัพย์ (ผู้ร่วมวิจัย) ,นางสาวพรทิพย์ ไชยยะ (ผู้ร่วมวิจัย) ,นางสาวสกุลรัตน์ สุนทรฉัตราวัฒน์ (ผู้ร่วมวิจัย) ,นางสาวกฤศมน โสภณดิลก (ผู้ร่วมวิจัย) , นางสาวพันธ์ธิดา ตรียวง (ผู้ร่วมวิจัย)
การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างและผลิตรีคอมบิแนนท์แอนติบอดีเพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค (Research and Development of recombinant antibody for application in immunodiagnosis)
โมโนโคลนอลแอนติบอดีเป็นโมเลกุลที่มีความจำเพาะเจาะจงสูงต่อแอนติเจน สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย การสร้างและผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีส่วนใหญ่ได้จากการนำ B-lymphocyte มาหลอมรวมกับเซลล์มะเร็ง myeloma เพื่อสร้างเซลล์ลูกผสม hybridoma ซึ่งยังมีข้อกำจัดได้ด้านความไม่คงตัวของเซลล์ hybridoma ตลอดจนใช้ระยะเวลานานในการเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่อผลิตแอนติบอดีให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับนำไปใช้งานต่อไป คณะผู้วิจัยจึงได้ประยุกต์ใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม ในการพัฒนาระบบการสร้างและผลิตรีคอมบิแนนท์แอนติบอดีของหนูด้วยเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (mammalian cell lines) โดยการสังเคราะห์ยีนที่ใช้สร้างแอนติบอดีส่วน constant region และ secretory signal ของหนูมาบรรจุอยู่ใน mammalian expression vectors และนำยีนส่วน variable region ของโมโนโคลนอลแอนติบอดีโคลนต่าง ๆ เชื่อมต่อเข้าสู่เวคเตอร์ที่สร้างขึ้น เพื่อนำไปผลิตรีคอมบิแนนท์แอนติบอดีใน mammalian cell lines และตรวจสอบคุณสมบัติของแอนติบอดีที่ได้เปรียบเทียบกับโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่ผลิตจากเซลล์ hybridoma จากผลงานวิจัยนี้สามารถสร้างเวคเตอร์ที่ใช้สำหรับผลิตรีคอมบิแนนท์แอนติบอดีของหนูใน mammalian cell lines ได้ 2 isotypes คือ IgG1/kappa และ IgG2a/kappa และจากการนำยีนส่วน variable region ของโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อ HBsAg ของไวรัสตับอักเสบบี และโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อเอนไซม์ pLDH ของเชื้อมาลาเรีย โคลนต่างๆ เชื่อมต่อเข้าสู่เวคเตอร์ที่สร้างขึ้นและนำไปผลิตรีคอมบิแนนท์แอนติบอดีในเซลล์ HEK293F พบว่าแอนติบอดีที่สร้างขึ้นมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่ผลิตจากเซลล์ hybridoma สามารถนำไปใช้พัฒนาเป็นชุดตรวจวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบบี และโรคมาลาเรียได้ แสดงให้เห็นว่าระบบการสร้างและผลิตรีคอมบิแนนท์แอนติบอดีที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในการผลิตแอนติบอดีอื่น ๆ ได้อีกมากมาย โดยการผลิตแอนติบอดีจาก mammalian cell lines จะได้ปริมาณของแอนติบอดีสูง และรวดเร็วกว่าการผลิตจากเซลล์ hybridoma อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณการใช้สัตว์ทดลองในการผลิตแอนติบอดีจากเซลล์ hybridoma ในช่องท้องหนู (ascetic fluid) ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมการใช้สัตว์ทดลอง
2556-2560