งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
มณฑารพ ยมาภัย ,ผกามาศ ขาวปลอด
รายงานการวิจัยการผลิตโมโนโคลนอล แอนติบอดีของมนุษย์เพื่อการตรวจวิเคราะห์และรักษาโรคพิษสุนัขบ้าด้วยเทคโนโลยีเฟจ
โมโนโคลนอลแอนติบอดีของมนุษย์ที่จำเพาะต่อเชื้อพิษสุนัขบ้า ถูกคัดเลือกจากคลังแอนติบอดี (scFv) มนุษย์ที่ไม่ถูกกระตุ้นด้วยไวรัสก่อโรค พิษสุนัขบ้า (คลัง YAMO-I) และคลังที่ถูกกระตุ้นด้วยไวรัส (คลัง Yamo-Rb) ด้วยเทคโนโลยีเฟจ โดยทำการคัดเลือก (ไบโอแพนนิ่ง) จำนวน 1-5 รอบ โดยใช้ เชื้อไวรัสก่อโรคพิษสุนัขบ้าที่หมดฤทธิ์แล้ว (inactivated virus) 2 ชนิด คือ PCEC และ PVRV เป็นเป้าหมายในการคัดเลือก ซึ่งสามารถคัดเลือกโคลนที่สามารถจับจำเพาะต่อเชื้อพิษสุนัขบ้าได้จ านวน 14 โคลน ได้แก่ IRA7c, IIIRC2c, IRC3c, IYC11c, IYC12c, IYD1c, IYF5c, IIRD5v, IIYB5v, IIYG4v, IIYE5v, IIYG8v, IIYD4v และ IVB4cv ผลจากการทดสอบโดยใช้วิธีการอีไลซ่า พบว่า โคลนเหล่านี้มีความสามารถในการจับจำเพาะได้ดีต่อเชื้อที่ใช้ในการคัดเลือกลำดับเบสของ ดีเอนเอได้ถูกวิเคราะห์โดยวิเคราะห์ลำดับเบสอัตโนมัติ โมโนโคลนอลแอนติบอดีของมนุษย์ที่จำเพาะต่อ เชื้อพิษสุนัขบ้าที่แสดงบนผิวเฟจ (Phage scFv) ทั้ง 13 โคลนถูกนำมาทดสอบความสามารถในการยับยั้งการก่อโรคพิษสุนัขบ้า (Neutralization) ผลจากการทดสอบความสามารถในการยับยั้งการก่อโรคพิษสุนัขบ้า มีเพียง IRA7c และ IIIRC2c ที่มี ความสามารถยับยั้งการก่อโรคพิษสุนัขบ้าได้ ดังนั้นจึงได้เลือกแอนติบอดีเพียง 4 โคลนมาผลิต และทำให้บริสุทธิ์ได้ดีด้วยวิธีการ IMAC ได้แก่ IYF5c, IIYG4v, IRA7c และ IIIRC2c โดยทำการนำยีนของแอนติบอดีเหล่านี้ไปใส่ไว้ใน พลาสมิด pET27b(+) เพื่อให้ยีนทำการแสดงออก โดยการผลิตเป็นแอนติบอดี scFv แบบอิสระในแบคทีเรีย E. coli BL21 ผลจากการทดสอบ ความสามารถในการยับยั้งการก่อโรคพิษสุนัขบ้าโดยใช้แอนติบอดี scFv แบบอิสระ (soluble scFv) ยืนยันผลการยับยั้งการก่อโรคพิษสุนัขบ้าโดยใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดีที่แสดงบนผิวเฟจ (Phage scFv) คือ มีเพียง IRA7c และ IIIRC2c ซึ่งได้รับการคัดเลือกมาจากคลังแอนติบอดีมนุษย์ที่ได้รับการกระตุ้นด้วยเชื้อพิษสุนัขบ้าเท่านั้น ที่มีความสามารถยับยั้งการก่อโรคพิษสุนัขบ้าได้โดยมีความสามารถยับยั้งการก่อโรคพิษสุนัขบ้า 4.54 IU/mg และ 0.20 IU/mg ตามลำดับซึ่งชิ้นส่วนของแอนติบอดีมนุษย์ ทั้ง 2 นี้ สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อนำไปใช้เป็นแอนติบอดีสำหรับการรักษา หรือป้องกันโรคได้ต่อไป นอกจากนั้นยังมีผลการทดลองที่น่าสนใจ คือ แอนติบอดีโคลน IYF5c ซึ่งแสดงความสามารถในการจับได้เป็นอย่างดีกับเชื้อไวรัสชนิดตาย (PCEC) จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีการ ELISA แต่กลับไม่มีความสามารถยับยั้งการก่อโรคได้เลย ซึ่งผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่สามารถใช้ผลจากการวิเคราะห์ด้วยวิธี ELISA ในการคาดเดาความสามารถของแอนติบอดีในการยับยั้งโรคได้จริง อย่างไรก็ ตามแอนติบอดีนี้ อาจนำไปประยุกต์ใช้เป็นตัวตรวจสอบเชื้อไวรัสก่อโรคพิษสุนัขบ้าในระดับ strain ได้ต่อไป การวิจัยนี้นำไปสู่การยื่นขอจดสิทธิบัตร 5 ฉบับเพื่อคุ้มครองลำดับกรดอะมิโนของแอนติบอดีทั้ง 14 ชนิดที่ได้ค้นพบ และผลงานนำเสนอและตีพิมพ์ใน รายงานการประชุมฉบับเต็มของงานประชุมระดับนานาชาติ IEEE International Conference on Nano/Molecular Medicine and Engineering, NANOMED ในปี 2555 ซึ่งยังได้รับรางวัล ผู้เข้ารอบสุดท้ายในการเป็น ผลงานตีพิมพ์ดีเยี่ยม อีกด้วย
2557