งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
แจนจุรีย์ เนตรสว่าง ปรัชญา หาญเสือเหลือง ปิยวดี จุฑากาญจน์ สำอาง มูระคา สุภาพร คำพา และอุดมศิลป์ สุทธิสม
การโคลนนิ่งดีเอ็นเอแคพสิดของไวรัสเดงกี่ โดยใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอสายผสม
Cloning of Dengue Virus Capsid DNA by using recombinant DNA technology
ไข้เลือดออกเดงกี่จัดเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขในประเทศไทย ซึ่งเกิดมาจากเชื้อไวรัสเดงกี่ และมียุงเป็นพาหะ โปรตีนแคพสิดของไวรัสเดงกี่ ( DENV C) มีหน้าที่ประกอบเป็นโครงสร้างของไวรัส สามารถพบได้ทั้งในไซโทพลาสซึม และนิวเครียสของเซลล์ที่ติดเชื้อ คณะผู้วิจัยได้พบว่า โปรตีนแคพสิดของเดงกี่กระตุ้นการตายของเซลล์ตับแบบอะพอพโทสิด (apoptosis) นอกจากนี้ การเข้าสู่นิวเครียส ของเซลล์ตับของโปรตีนแคพสิดชนิดดั้งเดิม( WT DENV C) ส่งผลให้เกิดการตายแบบอะพอพโทสิดด้วย ในขณะที่โปรตีนแคพสิดชนิดมิวเตชั่น (mutant DENV C) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของยีนที่นำเข้าสู่นิวเครียส ทำให้โปรตีนแคพสิดส่วนใหญ่คงอยู่ในไซโทพลาสซึม และส่งผลให้การตายแบบอะพอพโทสิดลดลง จากงานวิจัยที่ผ่านมาประสบปัญหาการนำยีนแคพสิดเข้าสู่เซลล์ตับได้น้อย เนื่องจากผนังเซลล์มีความหนา ดังนั้นคณะผู้วิจัยมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างพลาสมิดลูกผสมของยีนแคพสิด ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาเทคนิคการถ่ายทอดพลาสมิดเข้าสู่เซลล์ตับ โดยอาศัยความสามารถของ retrovirus ซึ่งจะเข้าสู่เซลล์คล้ายกับการติดเชื้อไวรัส โดยสร้างพลาสมิดลูกผสมของยีนแคพสิดกับ retroviral vector ซึ่งอาศัยวิธีดีเอ็นเอสายผสม (recombinant technology) และทำการตรวจสอบลำดับเบส ผลการทดลองพบว่า คณะผู้วิจัยประสบความสำเร็จในการสร้างพลาสมิดลูกผสมทั้ง WT DENV Cและ mutant DENV C โดย WT DENV C มีลำดับเบสถูกต้อง เมื่อเทียบกับต้นแบบ ส่วน mutant DENV C มีการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนที่ จาก 47 Tyrosineไปเป็น Phenylalanine ซึ่งอยู่ในกลุ่ม aromatic R group เหมือนกัน ทำให้อาจถูกจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ แต่อย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยต้องทำการทดสอบต่อไปในระดับโปรตีน และตำแหน่งที่อยู่ในเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับยีนแคพสิดต้นแบบทั้งชนิดดั้งเดิม และชนิดที่มีมิวเตชั่น
2012