งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
กมล อยู่สุข และ ธนาวรรณ สุขเกษม
การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ Bacillus cereus ในสารสกัดจากขิง
study of Bacillus cereusAntimicrobial Activity in Ginger Extract
ขิง (Ginger) เป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมในการใช้เพิ่มรสชาติในอาหารและเครื่องดื่มรวมทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ นอกจากนี้ ขิง ยังมีคุณสมบัติทางสุขภาพมากมายที่น่าสนใจ เช่น ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันช่วยลดอาการอักเสบในร่างกาย และมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารได้ดี เชื้อแบคทีเรียชื่อ Bacillus cereus เป็นหนึ่งในเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในอาหารและเป็นสาเหตุหลักของโรคติดเชื้อจากอาหาร ทำให้มีอาการอาเจียนและท้องเสีย การรักษาโรคนี้ ส่วนมากใช้ยาต้านเชื้อที่ผลิตจากสารเคมี ซึ่งมักนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง การค้นคว้ายาที่สกัดจากพืชสมุนไพรสามารถเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหานี้ ดังนั้น การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ Bacillus cereus ในสารสกัดจากขิง ได้ทำการสกัดสารจากเหง้าขิง (Zingiber officinale) โดยใช้วิธี Maceration ด้วย 95% เอทานอล จากผลการศึกษานี้ พบว่า สารสกัดหยาบจากขิง (ethanol crude extract) ความเข้มข้น 10 mg/ml มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Bacillus cereus เมื่อเจริญเติบโตบนอาหารเลี้ยงเชื้อ MHA ซึ่งทำให้เกิดโซนการยับยั้ง 10-15 มิลลิเมตร เมื่อทดสอบด้วยวิธี disc diffusion ที่ 100-300 µg/disc ทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อด้วยวิธี microdilution method พบว่า ค่า MIC และ MBC เท่ากับ 625 และ 1,250 µg/ml ตามลำดับ มีฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียน้อยกว่า ยา Oxacillin ซึ่งมีค่าการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เท่ากับ 8 และ 16 µg/ml ตามลำดับ ดังนั้น ขิง เป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสุขภาพมากมาย เป็นที่นิยมในการใช้ในด้านสุขภาพ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกรที่เพาะปลูกขิง เพื่อจำหน่ายอีกด้วย
Ginger is a popular herb used to enhance the flavor of food and beverages, as well as in various health products. Besides its culinary uses, ginger possesses numerous intriguing health properties. It has anti-oxidative properties that help reduce inflammation in the body and exhibit antibacterial effects, making it effective in preventing bacterial infections in the digestive system.Bacillus cereusis one of the common bacteria found in food and is a primary cause of foodborne illnesses, leading to symptoms such as vomiting and diarrhea. The conventional treatment for such diseases often involves antibiotics synthesized from chemical compounds, which can be costly due to importation. The exploration of herbal remedies has emerged as a cost-effective alternative.The objective of this study is to investigate the antibacterial properties of Bacillus cereus. The extract wasobtained from ginger rhizomes (Zingiber officinale) using the maceration method with 95% ethanol. The results revealed that the crude ethanol extract of ginger10 mg/mlhadinhibitory effects on the growth of Bacillus cereus when cultivated in an MHAculture medium, resulting in an inhibition zone of10-15 millimeters when tested with the disc diffusion method at concentrations of 100-300 μg/disc. Furthermore, the extract's ability to inhibit the bacteria was determined using the microdilution method, yielding MIC and MBC values of 625 and 1,250 μg/ml, respectively.The antimicrobial activity of this substance is lower than that of Oxacillin, which has MICand MBCof 8 and 16μg/mL, respectively.Therefore, ginger is a valuable herb with various nutritional and health benefits, making it a popular choice for improving overall well-being. Additionally, its cultivation for the production of herbalremedies offers opportunities to increase its value for farmers.
Zingiber officinale, Bacillus cereus,Antibacterial activity
2024