งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
จันทร์เพ็ญ โคตรภูธร
การสกัดสารพฤกษเคมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดหยาบจากเพกา
งานวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาสารพฤกษเคมีเบื้องต้น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านเชื้อ แบคทีเรียของสารสกัดเอทิลอะซิเตดและเมทานอลจากส่วนดอกแห้งและใบแห้งของเพกา โดยพบสารพฤกษเคมี ได้แก่ ซาโปนิน แทนนิน เทอร์พีนอยด์ คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ ฟลาโวนอยด์ สเตอรอยด์ คูมารินและอัลคาลอยด์ สารสกัดเมทานอลส่วนใบพบสารพฤกษเคมีมากที่สุด น าสารสกัดหยาบที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีการทดสอบ DPPH พบว่า สารสกัดเอทิลอะซิเตดส่วนใบแยกสารได้มากที่สุด 9 กลุ่มและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด และ จากการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี Agar Disc Diffusion ของสารสกัดหยาบทั้ง 4 ชนิด พบว่าสารสกัดเอทิลอะซิเตดส่วนดอกเพกามีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, Escherichia coliและ Pseudomonas aeruginosa ได้ดีกว่าสารสกัดเอทิลอะ ซิเตดและเมทานอลส่วนใบและเมทานอลส่วนดอก สารสกัดเอทิลอะซิเตดส่วนดอกเพกาแสดงฤทธิ์ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilisและ Pseudomonas aeruginosa ได้มากที่สุดมีค่าบริเวณการ ยับยั้ง 13.83 ± 2.88 และ 11.00 ± 0.50 ตามล าดับ ดังนั้นสารสกัดดอกเพกาเป็นแหล่งของสาร ต้านอนุมูลอิสระและสารต้านแบคทีเรียจากธรรมชาติ และอาจน าไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องส าอางและผลิตภัณฑ์ทางยาได
2559