หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
Home
Bio-pharmaceuticals
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์
read
ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)
ประเภทงานวิจัย :
งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
ประเภทงานอุตสาหกรรม :
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
ผู้แต่ง :
ผศ.ดร.พรอนันต์ เกื้อไข่
ชื่อเรื่อง (TH) :
การพัฒนาวัคซีนและชุดตรวจในกลุ่มเอนไซม์ย่อยสลายโปรตีนสำหรับโรคพยาธิใบไม้ตับ opisthorchiasis viverrini ในหนูทดลอง
ชื่อเรื่อง (EN) :
บทคัดย่อ (TH) :
พยาธิใบไม้ตับ Fasciola gigantica และ Opisthorchis viverrini มีการระบาดมากในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยพยาธิใบไม้ตับทั้ง 2 ชนิดนี้ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินน้ าดีและตับ สามารถพบได้ทั้งในสัตว์และมนุษย์ เช่น ถุงน้ าดีอักเสบ นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งท่อน้ าดีอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิกิริยาข้ามของซีรั่มกระต่ายที่ติดเชื้อ F. gigantica กับ O. viverrini ด้วยวิธี ELISAพบว่ามีค่า OD = 0.805 วิธี Western blotting พบการแสดงออกของโปรตีนขนาด 72-95 kDa และImmunohistochemistry staining พบว่า antibody ของกระต่ายที่ติดเชื้อ F. gigantica มีการย้อมติดบริเวณเยื่อบุทางเดินอาหาร ไข่ และอัณฑะของ O. viverrini ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ามีการเกิด cross reactionระหว่าง antibody ของกระต่ายที่ติดเชื้อ F. gigantica ต่อพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini นอกจากนี้พบว่าแอนติบอดีต่อ FgES สามารถท าปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันกับเนื้อเยื่อของ O. viverrini อย่างจ าเพาะที่บริเวณ gut, eggs, ovum และ uterus ของพยาธิซึ่งสามารถสรุปใน เบื้องต้นได้ว่า โปรตีน excretory secretoryจาก F. Gigantica นอกจากนี้ได้ศึกษาการแสดงออกของโปรตีน SOD ในพยาธิ O. viverrini ระยะตัวเต็มวัยด้วยแอนติบอดีต่อ Fasciola gigantica cytosolic SOD (FgSOD) โดยวิธี En zym e-linked immunosorbent assay (ELISA), Western blotting และ Immunohistochemistry พบว่า มีค่า O.D. เท่ากับ 0.733 และแอนติบอดีมีความจ าเพาะต่อโปรตีนที่น้ าหนักโมเลกุลประมาณ 17.5 กิโลดาลตัน ซึ่งสอดคล้องกับขนาดของโปรตีน SOD นอกจากนี้มีการแสดงออกในเนื้อเยื้อพยาธิที่บริเวณออวุล และอัณฑะ จึงสรุปได้ว่าแอนติบอดีต่อ FgSOD สามารถเกิดปฏิกิริยากับโปรตีน SOD ในพยาธิ O. viverrini จากการศึกษานี้พบว่ามีโอกาสพัฒนาเป็นวัคซีนหรือชุดตรวจโรคเพื่อใช้ในการวินิจฉัยได้ในอนาคต และจากการสังเคราะห์และศึกษาคุณลักษณะของ OvCatF และ OvLAP ด้วยวิธี PCR พบว่ายีน OvCatF และ OvLAP มีความใกล้เคียงกับพยาธิใบได้ตับ Clonorchis sinensis หลังจากนั้นได้ท าการสังเคราะห์โปรตีนในแบคทีเรีย (Escherichia coli) BL21 (DE3) พบว่าจากการวิเคราะห์ด้วย SDS-PAGE รีคอมบิแนนท์โปรตีน OvCatF และ OvLAP มีน้ าหนักโมเลกุลประมาณ 35 และ 61 กิโลดาลตัล ตามล าดับ และได้น าโปรตีนที่ได้ไปท าให้บริสุทธิ์ด้วย NiNTA affinity และในงานวิจัยนี้จะน าไปศึกษาคุณลักษณะและพัฒนาเป็นวัคซีนและการวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini ต่อไป
บทคัดย่อ (EN) :
คำสำคัญ (TH) :
คำสำคัญ (EN) :
ปีที่พิมพ์ :
2562
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<