หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
Home
Bio-pharmaceuticals
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์
read
ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)
ประเภทงานวิจัย :
งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
ประเภทงานอุตสาหกรรม :
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
ผู้แต่ง :
วาสนา เนียมแสวง
ชื่อเรื่อง (TH) :
พฤกษเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชที่มีสรรพคุณทางยา Phytochemicals and Biological ActivitiesofMedicinal Plants
ชื่อเรื่อง (EN) :
บทคัดย่อ (TH) :
งานวิจัยนีมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ในการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคของสารสกัดจากพืชที่มีสรรพคุณทางยา 15 ชนิด ได้แก่ พลู สีเสียดไทย หมากเหลือง สมอพิเภก เงาะ อบเชย ยูคาลิปตัส มังคุด สมอไทย กานพลู มะขามป้อม ขี้เหล็ก สาบเสือ ขิง และมะรุม โดยการเตรียมตัวอย่างพืชด้วยวิธีการสกัดร้อนและสกัดเย็น พบว่าสารสกัดจากพลูมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและปริมาณฟลาโวนอยด์สูงที่สุด เท่ากับ 874.09 ± 34.76 มิลลิกรัม สมมูลของกรดแกลลิกต่อสารสกัด 1 กรัม และ 758.68 ± 53.05 มิลลิกรัม สมมูลของคาเทซินต่อสารสกัด 1 กรัม ตามลำดับ การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัดจากหมากเหลืองมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดเท่ากับ 1,280.95 ± 134.07 มิลลิกรัมของทรอลอกซ์ต่อสารสกัด 1 กรัม นอกจากนี้สารสกัดจากหมากเหลืองยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของ E. coli ได้สูงที่สุด มีค่า MIC เท่ากับ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร แต่ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของ S. aureus การศึกษาในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากหมากเหลืองเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติแหล่งใหม่ที่ใช้สำหรับการป้องกันโรคที่คุกคามต่อชีวิต นอกจากนี้เปลือกของหมากเหลืองอาจมีประสิทธิภาพที่จะพัฒนาเป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อป้องกันการเน่าเสียของอาหารได้
บทคัดย่อ (EN) :
คำสำคัญ (TH) :
คำสำคัญ (EN) :
ปีที่พิมพ์ :
2561
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<
เอกสารแนบ :