งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
นางสาวสุรีย์พร บัวอาจ1 ,นางนุชนารถ ตั้งจิตสมคิด 1, นางสาวบูรณี พั่ววงษ์แพทย์1 ,นางวิลาวัณย์ ใคร่ครวญ2
ประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi ต่อไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ในพริก
จากการนาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi ไปใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม ด้วยวิธีการประยุกต์ใช้ในรูปแบบของก้อนเชื้อในการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี โดยนาก้อนเชื้อเห็ดเรืองแสงที่มีเส้นใยเดินเต็มถุงมาขยี้ให้เส้นใยแยกจากกัน แล้วนาไปรองก้นหลุมก่อนปลูกพริก ในอัตรา 10, 20, 30, 40 และ 50 กรัมต่อกระถาง จากการวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์การเกิดปมที่รากพริก เมื่อพริกอายุครบ 45 วัน หลังปลูกเชื้อด้วยไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita จานวน 2,000 ไข่/กระถาง พบว่าทุกอัตราการใช้ก้อนเชื้อเห็ดเรืองแสง สามารถควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมได้ดี โดยเฉพาะที่อัตรา 10 กรัมต่อกระถาง สามารถควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมได้ดีที่สุด ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การเกิดรากปมเพียง 12.40 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการใช้ก้อนเชื้อเห็ดรองลงมาที่อัตรา 20, 40, 30 และ 50 กรัมต่อกระถาง ให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ คือ มีเปอร์เซ็นต์การเกิดรากปม 23.20, 25.40, 30.00 และ 30.40 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ ซึ่งทุกอัตราการใช้ก้อนจากเชื้อเห็ดเรืองแสง มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่มีไส้เดือนฝอยรากปมเพียงอย่างเดียว หรือการใช้สารเคมี carbofuran® ที่พบการเกิดปมสูงถึง 75.60 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการนาเอาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง N. nambi ไปใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดและปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งจะนาไปสู่การพัฒนาต่อไปเพื่อใช้ในการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี เพื่อช่วยลดการใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืช
-