งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
บุญส่ง คงคาทิพย์
การวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ จากฟ้าทะลายโจรและขมิ้นชันจากแหล่งปลูกต่างๆ และขมิ้นผงที่ผลิตในขบวนการผลิตเพื่ออุตสาหกรรม
การวิเคราะห์ปริมาณสารออกฤทธิ์ andrographolide ในใบฟ้าทะลายโจร ได้ทำการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง high pressure liquid chromatography (HPLC) โดยใช้คอลัมน์ชนิด reversed phase วัดที่ความยาวคลื่น 254 nm โดยเทียบกับสารมาตรฐาน ฟ้าทะลายโจร 8 พันธุ์ ซึ่งเก็บมาจาก 8 จังหวัดทั่วประเทศไทย นำมาปลูกที่สถานีวิจัย เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อนำมาสกัดด้วยเมทิลแอลกอฮอล์ พบว่าสารสกัดที่ได้จากใบ หรือกิ่งผสมใบของพันธุ์ที่ได้มาจาก จ.กาญจนบุรี ให้ปริมาณสาร andrographolide สูงสุด 10.14 และ 22.20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนพันธุ์ที่ได้มาจาก จ.นครศรีธรรมราช ให้ปริมาณสารในใบต่ำสุด (1.15 เปอร์เซ็นต์) และพันธุ์ที่ได้มาจาก จ.เพชรบุรี ให้ปริมาณสารในกิ่งผสมใบต่ำสุด (5.12 เปอร์เซ็นต์) ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าปริมาณของสาร andrographolide ในสารสกัดจากใบผสมกิ่งจะสูงกว่าสารสกัดที่ได้จากใบอย่างเดียว ในทุกพันธุ์ การศึกษาผลของอาหารหลัก ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โปแตสเซี่ยม (K) ที่มีต่อปริมาณสารออกฤทธิ์ andrographolide ในฟ้าทะลายโจร ได้ทำการทดลองที่สถานีวิจัยเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทราเช่นกัน โดยใช้ปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 สำหรับไนโตรเจน P2O5 สูตร 0-46-0 สำหรับฟอสฟอรัส และ K2O สูตร 0-0-46 สำหรับโปแตสเซี่ยม โดยปริมาณของปุ๋ยยูเรียจะใส่ 0, 6, 12 กก./ไร่ P2O5 จะใส่ 0, 3, 6 กก./ไร่ และ K2O จะใส่ 0, 3, 6 กก./ไร่ โดยได้ทดลองในอัตราส่วนผสมต่างๆ กัน 27 การทดลอง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ฟ้าทะลายโจรซึ่งปลูกด้วยอาหารหลักอัตราส่วน N:P:K 0-3-6 จะมีปริมาณ andrographolide สูงสุด 31.61 เปอร์เซ็นต์ และรองลงมาเป็น อัตราส่วน 0-6-0 ให้ 30.20 เปอร์เซ็นต์ สำหรับอัตราส่วน N:P:K 6-0-0 จะให้ปริมาณ andrographolide ต่ำสุด 0.22 เปอร์เซ็นต์ และเป็นที่น่าสังเกตุว่า การทดลองที่ใส่สารอาหารยูเรีย (N) 12 กก./ไร่ ทุกการทดลองจะให้เปอร์เซ็นต์สาร andrographolide สูงกว่า 22 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นอัตราส่วน 12-6-0
2540