งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
นางสาววัสสิกา วิชัยดิษฐ
การแยกและการสังเคราะห์อนุพันธ์ของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากใบมะขามเทศ
The isolation and chemical modification of biological active components from Pithecellobium dulce
การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและการสังเคราะห์อนุพันธ์ของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหยาบเมทานอลของใบมะขามเทศ (Pithecellobium dulce) ในวงศ์ Fabaceae สามารถแยกสารบริสุทธิ์ออกมา 3 ชนิดด้วยกัน คือ kaempferol (8), kaempferol-3-rhamnoside (7) และ 4,5-epoxy-piperdine-3-carboxylic acid (28) โดยในการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ อาทิ Staphylococcus aureus TISTR 1466, Bacillus cereus TISTR687, Enterococcus faecalis TISTR 379, Escherichia coli TISTR 78 และ Methicillin resistant Staphylococcus aureus (MRSA) ATCC 43300 ด้วยวิธี disk diffusion และ minimum inhibitory concentration (MIC) พบว่า สารสกัดหยาบเมทานอลของใบมะขามเทศมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ทุกชนิด โดยให้ค่า MIC อยู่ในช่วง 12.5–50 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร (MBC เท่ากับ 100 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร) ส่วน kaempferol (8) และ kaempferol-3-rhamnoside (7) มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียทุกชนิดยกเว้น E. faecalis TISTR 379 โดย kaempferol (8) ให้ค่า MIC อยู่ในช่วง 0.02–0.17 โมลาร์ (MBC อยู่ในช่วง 0.02 ถึงมากกว่า 0.17 โมลาร์) และ kaempferol-3-rhamnoside (7) ให้ค่า MIC อยู่ในช่วง 0.03–0.12 โมลาร์ (MBC มากกว่า 0.12 โมลาร์) ตามลำดับ และสาร 4,5-epoxy-piperdine-3-carboxylic acid (28) มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้บางชนิดคือ S. aureus TISTR 1466 และ MRSA ATCC 43300 โดยให้ค่า MIC เท่ากับ 1.39 โมลาร์ (MBC มากกว่า 1.39 โมลาร์) นอกจากนั้น สารสกัดหยาบจากใบมะขามเทศในตัวทำละลายอินทรีย์เมทานอลและสารบริสุทธิ์แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากวิธีการทดสอบ DPPH assay (IC50 ของสารสกัดหยาบใบมะขามเทศเท่ากับ 197.19 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) จากผลการศึกษาสารบริสุทธิ์ที่สามารถออกฤทธิ์ทางชีวภาพจึงนำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างโดยการทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ในกลุ่มต่างๆ อาทิ ไกลโคไซด์ ลิปิด ไบโอทิน เป็นต้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการออกฤทธิ์ทางชีวภาพให้มากขึ้น โดยพบว่า kaempferol-3,6-diacetate (29) มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย S. aureus TISTR 1466 โดยให้ค่า MIC อยู่ในช่วง 0.07 โมลาร์ (MBC มากกว่า 0.07 โมลาร์) kaempferol-6-oleic acid (30), kaempferol-6-steric acid (31) และ kaempferol-3-biotin (33) มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย E. coli TISTR 78 โดยให้ค่า MIC อยู่ในช่วง 0.02–0.05 โมลาร์ (MBC มากกว่า 0.05 โมลาร์)
2557