งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals)
นงลักษณ์ ห้วยหงษ์ทอง
การทดสอบสารพฤกษเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรไทยบางชนิดที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน
PHYTOCHEMICAL SCREENING AND BIOLOGICAL ACTIVITIES OF SOME THAI MEDICINAL PLANTS USING IN THE DIABETE
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสารพฤกษเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหยาบเอทานอลจากสมุนไพรไทยบางชนิดที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน คือ ปอบิด หูกวาง สัก และบอระเพ็ด จากการศึกษาสารพฤกษเคมีของสารสกัดหยาบเอทานอลจากสมุนไพรไทยบางชนิดที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน พบสารพฤกษเคมีต่างๆ คือ เทอร์พีนอยด์ สเตอรอยด์ ซาโปนิน ฟลาโวนอยด์ แทนนิน คูมาริน และแอนทราควิโนน นอกจากนี้สารสกัดดังกล่าวยังได้ศึกษาหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม (8.02+1.14 ถึง 121.20+3.06 mgGAE.g-1) ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม (6.72+0.25 ถึง 68.28+1.44 mg QE.g-1) และปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระรวม (69.84+2.01 ถึง 151.61+2.97 mg AE.g-1 และจากการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH free radical scavenging พบว่า หูกวางแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด (96.63%) รองลงมาคือสัก (82.49%) ปอบิด (55.89%) และ บอระเพ็ด (18.41%) ตามลา ดับ ส่วนการศึกษาการยับยั้งการทา งานของเอนไซม์แอลฟา-กลูโคสิเดส พบว่า หูกวางแสดงค่าร้อยละของการยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคสิเดสได้ดีที่สุด (98.83%) รองลงมา คือ ปอบิด (89.79%) เถาบอระเพ็ด (77.51%) และสัก (55.53%) ตามลาดับ ส่วนการศึกษาฤทธิ์ต้านเอนไซม์แอลฟา-กลูโคสิเดส และเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลสที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานของสารสกัดหยาบเอทานอลจากสมุนไพรไทย 4 ชนิดที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน พบว่าสารสกัดเอทานอลจากใบหูกวางมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคสิเดส (97.29%) ซึ่งมีค่าสูงกว่าสารมาตรฐานอะคาร์โบสอีกด้วย และมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลส (86.90%)ได้สูงที่สุด ผลดังกล่าวข้างต้นพบว่าใบหูกวางเป็นแหล่งของสารที่สามารถป้องกันหรือใช้ในการรักษาโรคเบาหวานได้ดีที่สุด และสามารถพัฒนาสมุนไพรไทยทั้ง 4 ชนิดไปใช้ประโยชน์ทางยารักษาโรคเบาหวานที่ช่วยป้องกันหรือลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากอนุมูลอิสระในผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2559