หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
Home
Bio-Plastics
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
read
ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics Research)
ประเภทงานวิจัย :
งานวิจัยส่วนกลาง
ประเภทงานอุตสาหกรรม :
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
ผู้แต่ง :
อุไร จันทร์หนองสรวง และ อิทธิพล แจ้งชัด
ชื่อเรื่อง (TH) :
การศึกษาฟิล์มพลาสติกชีวภาพพีบีเอสผสมแป้งดัดแปรที่เตรียมจากเทคนิคอัดรีดด้วยสลิทดาย
ชื่อเรื่อง (EN) :
Study of Biodegradable Bioplastic Films made from Blends of Polybutylene Succinate (PBS)/Modified St
บทคัดย่อ (TH) :
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาฟิล์มพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ขึ้นรูปด้วยเทคนิคการ อัดรีดแบบสลิทดาย (Slit die) เตรียมได้จากพอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (Polybutylene succinate, PBS) ผสมกับแป้งมันสำปะหลังดัดแปร (Modified starch) ชนิดต่างๆ ได้แก่ แป้งอีเทอร์ (Ether starch, ETS) แป้งอีเทอร์ที่ผ่านการเชื่อมโยง (Ether crosslink starch, ETSc) และแป้งไฮโดรโฟบิก (Hydrophobic starch, HBS) ที่มีองศาการแทนที่ (Degree of substitution, DS) แบบตํ่า ปานกลาง และสูง (l, m and h) โดยควบคุมอัตราส่วนระหว่าง พอลิบิวทิลีนซัคซิเนต และแป้งดัดแปร 70:30 (โดยนํ้าหนัก) และใช้ปริมาณพลาสติไซเซอร์ คือ กลีเซอรอลเป็น 30% (โดยนํ้าหนัก) ของปริมาณแป้งดัดแปร สามารถเตรียมได้จากการผสมโดยเทคนิคผสมแบบหลอมเหลว (Melt blending) ด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวหนอนคู่ (Twin-screw extruder) และขึ้นรูปฟิล์มจากเครื่องอัดรีดแบบสลิทดาย (Slit die film extruder) โดยศึกษาชนิดแป้งดัดแปร และปริมาณองศาการแทนที่ของแป้งไฮโดรโฟบิก จากนั้นนำตัวอย่างไปทดสอบสมบัติเชิงกล สัณฐานวิทยา และการดูดซับนํ้า จากสัณฐานวิทยาพบว่าแป้งมีการกระจายตัวที่ดี เมื่อเติมแป้งสตาร์ชลงไปสมบัติเชิงกลลดลง โดยสูตร PBS/HBSh มีค่าความแข็งแรงดึง และมอดุลัสสูงสุด และมีความสามารถในการดูดซับนํ้าน้อยสุด เนื่องมาจากการดัดแปรแป้งให้มีขั้วลดลงจึงสามารถเข้ากับ PBS ได้ดีขึ้น
บทคัดย่อ (EN) :
คำสำคัญ (TH) :
คำสำคัญ (EN) :
ปีที่พิมพ์ :
-
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<
เอกสารแนบ :