งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
สรวีย์ มีศักดิ์สยาม
ผลกระทบของการเติมเส้นใยทะลายปาล์มในพอลิเมอร์ผสมพอลิแลคติกแอซิดและพอลิบิวทิลีนซัคซิเนตต่อสมบัติเชิงกล
EFFECT OF BUNCH PALM FIBER ADDITION IN POLYMER BLENDS POLYLACTIC ACID AND POLYBUTYLENE SUCCINESS (PL
ปาล์มเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันปาล์มซึ่งใช้ในการอุปโภคบริโภค ทำให้มีทะลายปาล์มและเส้นใยปาล์มเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ในงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาการใช้เส้นใยทะลายปาล์มผสมลงในพอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิแลคติคแอซิด PLA และ พอลิบิวทิลีนซัคซิเนต PBS เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อนของพอลิเมอร์ผสมโดยเตรียมพอลิเมอร์ระหว่าง PLA/PBS ที่อัตราส่วน 90:10 แล้วเติมเส้นใยปาล์มที่อัตราส่วน 1, 3, 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้าหนัก โดยใช้เส้นใยปาล์มที่ผ่านการปรับปรุงผิวด้วยโซเดียมไฮดอกไซด์ 5 เปอร์เซ็นต์ และไม่ผ่านการปรับปรุงผิวด้วยโซเดียมไฮดอกไซด์ 5 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทำการผสมพอลิเมอร์ด้วยกระบวนการหลอมเหลวด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวหนอนคู่ที่อุณหภูมิ 190 องศาเซลเซียส และทำการอัดขึ นรูปด้วยกระบวนการอัดที่อุณหภูมิ 190 องศาเซลเซียส ผลการทดลองพบว่า การเติมเส้นใยปาล์มที่ผ่านการปรับปรุงผิวด้วย โซเดียมไฮดอกไซด์ ที่อัตราส่วนปาล์ม 3 เปอร์เซ็นต์ มีผลทำให้ PLA/PBS มีค่าความคงทนต่อแรงกระแทกและค่ายังมอดูลัสสูงขึ้นแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อค่าความแข็ง เมื่อศึกษาสมบัติทางความร้อนพบว่าการเติมเส้นใยปาล์มลง ใน PLA/PBS ไม่ส่งผลกระทบต่อสมบัติทางความร้อน
2559