งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
พิชาภัค ศรียาภัย1 ทายาท ศรียาภัย2 ลักษมี ศุกระกาญจนะ3
สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์ย่อยสลายพอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (PBS) จาก Saccharothrix sp. APL5
แอคติโนมัยสีท Saccharothrix sp. APL5 แยกได้จากดินกองขยะในประเทศไทยและสามารถย่อยสลาย พอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (PBS) มีความเหมือนกับ Saccharothrix texasensis (ความคล้ายคลึง 98 เปอร์เซ็นต์) ด้วยการวิเคราะห์ยีน 16S rDNA สภาวะที่เหมาะสมสาหรับการผลิตเอนไซม์ PBS depolymerase ในอาหารเลี้ยงเชื้อประกอบด้วยความเข้มข้นของ PBS ปริมาตร 1.5 เปอร์เซ็นต์โดยมวลต่อปริมาตรสาหรับเป็นแหล่งคาร์บอน, yeast extract ปริมาตร 0.12 เปอร์เซ็นต์โดยมวลต่อปริมาตร สาหรับเป็นแหล่งไนโตรเจน pH 7 และบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 96 ชั่วโมง เมื่อวัดค่าการทางานของเอนไซม์จาเพาะสูงสุดเท่ากับ 35.6 ± 2.31 ยูนิตต่อมิลลิกรัม สายพันธุ์ APL5 สามารถย่อยสลายแผ่นฟิล์ม PBS ในอาหารเลี้ยงเชื้อ basal medium เป็นเวลา 56 วันที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงลักษณะผิวหน้า เช่น เกิดการกร่อน และพื้นผิวขรุขระด้วยรูพรุนเมื่อศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด การศึกษา IR spectra ของแผ่นฟิล์ม PBS ที่ถูก treated ด้วย APL5 แสดงแถบ broad absorption บริเวณ 3400-3000 cm-1 (OH stretch) และบริเวณ peak ที่ 1740 cm-1 (C=O stretch) พบว่า peak มีขนาดลดลง ลาดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีนที่ย่อยสลายพลาสติกชีวภาพจากสายพันธุ์ APL5 นามาศึกษาลาดับกรดอะมิโนของ Lpa5 พบว่ามีความเหมือนกับ pentapeptide catalytic triad (Gly-His-Ser-Met-Gly) ที่เป็นส่วนหนึ่งใน esterase-lipase superfamily (serine hydrolase)
2560