งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
นวดล เพ็ชรวัฒนา, ปานทิพย์ บุญส่ง, ศจีมาจ ณ วิเชียร, สาลินี อาจารีย์
บรรจุภัณฑ์อาหารต้านจุลินทรีย์จากพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ผสมน้ำมันหอมระเหย (Antimicrobial Packaging from Biodegradable Plastics and Essential Oils Blends)
ในอดีต อันตรกิริยาระหว่างอาหารกับบรรจุภัณฑ์นั้นไม่ได้รับการยอมรับเนื่องจากมีความเชื่อว่าทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของอาหาร แต่ในปัจจุบัน หลายงานวิจัยได้พิสูจน์แล้วว่าการเกิดอันตรกิริยาบางอย่างระหว่างอาหารและบรรจุภัณฑ์นั้นไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพของอาหาร อีกทั้งยัง สามารถชะลอการเสื่อมเสียของอาหารได้ ดังนั้นเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ต้านจุลินทรีย์จึง เป็นหนึ่งในแนวคิดที่เหนี่ยวนําให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างอาหารและบรรจุภัณฑ์ในขณะที่รักษาคุณภาพทางโภชนาการ คุณสมบัติรวมทั้งความปลอดภัยของอาหารไว้ ไม่เปลี่ยนไป โดยสารเติมแต่งที่นิยมใช้เพื่อเป็นสารต้านจุลินทรีย์เป็นสารกลุ่มนํ้ามันหอมระเหยซึ่งได้จากการสกัดสารสําคัญทางธรรมชาติจากพืช โดย สารเหล่านี้สามารถออกฤทธิ์ในการยับยั้งก ารเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ทั้งในกลุ่ม เชื้อรา ยีสต์และแบคทีเรีย ซึ่งทําให้อาหารเสื่อมเสียและสามารถก่อโรคได้ ส่วนพลาสติกชีวภาพนั้นเป็นวัสดุที่มีแนวโน้มจะนํามาใช้เพื่อทดแทนพลาสติกจากปิ โตรเลียมในอนาคต ในเชิงพาณิชย์นั้นได้มีการนําเอาพลาสติกชีวภาพมาใช้เ ป็ น บรรจุภัณฑ์อาหารเนื่องจากมีสมบัติทางกลที่ดีพร้อมทั้งยังสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะพลาสติกจากปิ โตรเลียมพร้อมทั้งยืดอายุของอาหารที่บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ นักวิจัยหลายกลุ่มจึงได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพต้านจุลินทรีย์ขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บทความนี้ได้กล่าวถึง ข้อมูลเบื้องต้นของพลาสติกชีวภาพ การเสื่อมเสียของอาหารเนื่องจากจุลินทรีย์ การเคลื่อนย้ายของสารต้านจุลินทรีย์จากบรรจุภัณฑ์สู่อาหารรวมไปถึงเทคโนโลยีการใช้สารต้านจุลินทรีย์ในบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพกับอาหารประเภทต่างๆ
2562