หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
Home
Bio-Plastics
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
read
ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics Research)
ประเภทงานวิจัย :
งานวิจัยส่วนกลาง
ประเภทงานอุตสาหกรรม :
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
ผู้แต่ง :
ภริตา ตัณท์เอกชน
ชื่อเรื่อง (TH) :
การสกัดเซลลูโลสจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วย คลื่นไมโครเวฟเพื่อใช้ เป็นวัสดุดูดซับสีย้อม
ชื่อเรื่อง (EN) :
บทคัดย่อ (TH) :
การสกัดเซลลูโลสจากวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร 3 ชนิด ได้แก่ ฟางข้าว ขุยมะพร้าวและเปลือกข้าวโพด โดยกระบวนการไฮโดรไลซิสด้วยเบสที่มีการให้ความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟที่ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ 5, 7.5 และ 10 โดยน้ำหนัก และนำมาฟอกขาวเพิ่มด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 30 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร พบว่าที่ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซต์ ร้อยละ 5 โดยน้ำหนักและนำมาฟอกขาวเพิ่มด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สามารถ กำจัดลิกนินและองค์ประกอบอื่น ๆ ได้ดีและให้เซลลูโลสที่มีความเป็นผลึกและบริสุทธิ์สูง อีกทั้งยังไม่ทำลายโครงสร้างของเส้นใยเซลลูโลส จากนั้นนำเซลลูโลสที่ได้ไปขึ้นรูปเป็นวัสดุเชิงประกอบร่วมกับไคโตซานและทาการเชื่อมขวางโดยการเกิดปฏิกิริยาด้วยแสงภายใต้การฉายแสงยูวีซี (UVC) ที่มีกรดซิตริกเป็นสารเชื่อมขวางและศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยา 2 ชนิด คือ ไททาเนียมไดออกไซด์(Titanium dioxide) และโซเดียมไฮโปฟอสไฟท์ (Sodium hypophosphite) และนาไปขึ้นรูปในรูปแบบฟองน้ำด้วยกระบวนการทำให้แห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze drying) พบว่าได้เป็นวัสดุเชิงประกอบที่มีรูพรุนจำนวนมาก โดยที่วัสดุเชิงประกอบจากขุยมะพร้าวที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง คือ โซเดียมไฮโปฟอสไฟท์ภายใต้รังสียูวีที่เวลา 10 นาที มีความแข็งแรงและโครงสร้างที่มีรูพรุนสามารถคงรูปในน้ำไม่กระจายตัวออกจากกัน จากนั้นจึงนำมาทำการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับสารด้วยการเติมวัสดุรูพรุนของสารประกอบโครงข่ายโลหะ-สารอินทรีย์ ชนิด Cu-BTC พบว่าวัสดุที่ได้จะมีความชื้นมากและโครงสร้างไม่แข็งแรงเท่าวัสดุเชิงประกอบต้นกำเนิด และจากการศึกษาสมบัติการดูดซับสีย้อม Methylene blue (MB) พบว่าวัสดุเชิงประกอบเซลลูโลส ไคโตซานและ Cu-BTC ที่ได้จากขุยมะพร้าวที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแสงคือโซเดียมไฮโปฟอสไฟท์ ที่เวลา 10 นาที มีความสามารถในการดูดซับสีย้อม Methylene blue (MB) ได้ดีที่สุด เนื่องจากโครงสร้างมีความเป็นรูพรุนสูงและมีการ เรียงตัวของรูพรุนที่สม่ำเสมอ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นวัสดุดูดซับทางด้านอื่น ๆ
บทคัดย่อ (EN) :
คำสำคัญ (TH) :
คำสำคัญ (EN) :
ปีที่พิมพ์ :
2564
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<