งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics Research)

งานวิจัยส่วนกลาง
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
จิตพร โพธิ์ปัญญาศักดิ์ ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ และ สาวิตรี วทัญญูไพศาล
การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งลิกโนเซลลูโลสสำหรับผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต (The utilization of lignocellulosic biomass waste for production of Polyhydroxyalkanoates.)
ด้วยคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพที่โดดเด่นของพลาสติกชีวภาพชนิด พอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตทำให้ได้รับความสนใจในการนำไปใช้เป็นวัสดุทางเลือกเพื่อทดแทนพลาสติกสังเคราะห์ในหลากหลายด้าน อย่างไรก็ตาม พอลิไฮดรอกซีอัล-คาโนเอตยังไม่สามารถทดแทนพลาสติกสังเคราะห์ได้มากนัก เนื่องจากมีอัตราการผลิตต่ำ และต้นทุนการผลิตสูงทำให้พอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตมีราคาสูงตามไปด้วย ซึ่งต้นทุนการผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตส่วนใหญ่มาจากแหล่งคาร์บอนที่ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตและเป็นการจัดการขยะ ได้มีการนำของเสียหรือผลิตภัณฑ์พลอยได้จากอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาใช้เป็นแหล่งคาร์บอน วัสดุเหลือทิ้งลิกโนเซลลูโลสเป็นวัตถุดิบที่น่าสนใจ เนื่องจากมีปริมาณมาก ราคาถูก และเป็นวัสดุที่สามารถทดแทนใหม่ได้ ทั้งนี้การนำวัสดุเหลือทิ้งลิกโน-เซลลูโลสมาใช้นั้นต้องมีกระบวนการในการเปลี่ยนวัสดุเหลือทิ้งลิกโนเซลลูโลสให้เป็นแหล่งคาร์บอนซึ่งประกอบด้วยการปรับสภาพ การย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งลิกโน-เซลลูโลส และการกำจัดสารยับยั้ง บทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการปรับสภาพ การย่อยสลาย การกำจัดสารยับยั้ง หลักการเบื้องต้นของกระบวนการผลิตไฮดรอกซีอัลคาโน-เอตโดยวิถีเมแทบอลิซึมของแบคทีเรีย และการใช้วัสดุเหลือทิ้งลิกโนเซลลูโลสในการผลิตพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอตเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการผลิตพอลิไฮ- ดรอกซีอัลคาโนเอตจากวัสดุเหลือทิ้งลิกโนเซลลูโลสและนำไปสู่การผลิตพลาสติกชีวภาพที่มีคุณภาพและยั่งยืนในอนาคตต่อไป
2565