หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
Home
Bio-Plastics
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
read
ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics Research)
ประเภทงานวิจัย :
งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
ประเภทงานอุตสาหกรรม :
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
ผู้แต่ง :
อาจารย์ ดร.วาสนา เป็นเครือ
ชื่อเรื่อง (TH) :
ความหลากหลายของแบคทีเรียบริเวณรอบรากพืชที่สามารถผลิตพลาสติก ชีวภาพชนิดพอลิไฮดรอกแอลคาโนเอท (พีเอซเอ) เพื่อการประยุกต์ใช้ ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
ชื่อเรื่อง (EN) :
บทคัดย่อ (TH) :
การใช้พลาสติกจากปิโตรเคมีส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในด้านการจัดการของเสียที่เกิดขึ้น รวมทั้งกระบวนการผลิตยังก่อให้เกิด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิดพอลิไฮดรอกซีแอลคาโนเอท (พีเอซเอ) จากจุลินทรีย์ที่แยกได้จากดินรอบรากพืชในจังหวัดนครราชสีมา ลำปางและชลบุรี ด้วยวิธี Dilution spread plate บนอาหารMineral salt medium (MSM) ที่เติมกากน้ำตาลความเข้มข้น 1 Brix°เป็นแหล่งคาร์บอน จากนั้นทำการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิดพีเอซเอโดยการย้อม เม็ดพลาสติกชีวภาพภายในเซลล์จุลินทรีย์ด้วยวิธี Nile red staining ภายใต้กล้องจุลทรรศน์เรืองแสงและวิเคราะห์เชิงปริมณด้วย Gas chromatography โดยใช้สถิติ One-way ANOVA ในการวิเคราะห์ผลการทดลอง นอกจากนี้ทำการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา ชีวเคมีเบื้องต้นและวิวัฒนาการทางพันธุกรรมของยีน 16S rRNA ของแบคทีเรียคัดเลือก 5 ไอโซเลท ผลการวิจัยพบว่า แบคทีเรียจำนวน 396 ไอโซเลทถูกแยกจากตัวอย่างดินรอบรากพืชจำนวน 40 ตัวอย่างดิน และสามารถสะสมเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิดพีเอซเอภายในเซลล์ ทั้งนี้พบว่าเมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธีGas chromatography แบคทีเรียจำนวน 5 ไอโซเลท ได้แก่ ไอโซเลท WP14-2, WP18-1, WP32-2, WP43-4 และ WP45-2 สามารถผลิตพอลิไฮดรอกซีวาเลอเรท (พีเอซวี) ได้สูงสุด คือ 78.73±1.29, 66.70±2.72, 58.69±0.53,71.72±2.84 และ 89.03±1.17 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ นอกจากนั้นจากการศึกษาความวิวัฒนาการทางพันธุกรรมเพื่อบ่งชี้ชนิดของจุลินทรีย์ด้วยยีน 16S rRNA พบว่า ไอโซเลท WP45-2 มีความใกล้เคียงกับ Streptomyces viridochromogenes (99.57%) มากที่สุด ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าจุลินทรีย์รอบพืชมีความสามารถในการเป็นแหล่งผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด PHAs โดยใช้กากน้ำตาลเป็นแหล่งคาร์บอน
บทคัดย่อ (EN) :
คำสำคัญ (TH) :
คำสำคัญ (EN) :
ปีที่พิมพ์ :
2565
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<