หน้าหลัก
ทำเนียบผู้ประกอบการ
ข้อมูลงานวิจัย
งานวิจัยจากส่วนกลาง
งานวิจัยระดับท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
Home
Bio-Plastics
งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ
read
ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics Research)
ประเภทงานวิจัย :
งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
ประเภทงานอุตสาหกรรม :
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
ผู้แต่ง :
ภาวิณี เทียมดี และ บวรรัตน์ บึ้งสลุง
ชื่อเรื่อง (TH) :
การประยุกต์ใช้แป้งมันสำปะหลัง 2 สายพันธ์ุ เพื่อผลิตถุงเพาะชำพลาสติก ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
ชื่อเรื่อง (EN) :
บทคัดย่อ (TH) :
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กลีเซอรอลเป็นพลาสติไซเซอร์ ต่อสมบัติทางกายภาพ และทางกลของแผ่นฟิล์มจากแป้งมันสำปะหลัง 2 สาย พันธุ์ (พันธุ์ 5 นาทีและระยอง 2) โดยฟิล์มนี้เตรียมโดยการละลายแป้งมัน สำปะหลังในน้ำ ให้มีความเข้มข้นร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก และศึกษาผลของ ปริมาณกลีเซอรอล 4 ระดับ คือร้อยละ 0, 20, 30 และ 40 โดยน้ำหนักของแป้ง ขึ้นรูปแผ่นฟิล์มโดยการทำแห้งที่ 60 องศาเซลเซียส นาน 18 ชั่วโมง นำ แผ่นฟิล์มที่ได้ไปทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและเชิงกล ได้แก่ ความหนา ค่า แอคติวิตีของน้ำ (aw) ค่าการละลาย ค่าต้านทานแรงดึง ค่าต้านทานแรงเจาะ และศึกษาการย่อยสลายของแผ่นฟิล์ม พบว่าความหนาของฟิล์มมีค้าระหว่าง 0.20-0.30 มิลลิเมตร์สำหรับค่า aw ของแผ่นฟิล์มอยู่ระหว่าง 0.40-0.50 และ พบว่า ฟิล์มแป้งมันสำปะหลังทั้ง 2 สายพันธุ์ที่ใช้กลีเซอรอลเป็นพลาสติไซเซอร์ สามารถขึ้นรูปฟิล์มได้ดีและมีความยืดหยุ่น โดยมีค่าการละลายเพิ่มขึ้นเมือ ปริมาณของกลีเซอรอลเพิ่มขึ้น ค่าต้านทานแรงดึงและค่าต้านทานแรงเจาะของ ฟิล์มแป้งสำปะหลังทั้ง 2 สายพันธุ์ เพิ่มขึ้นเมือปริมาณของกลีเซอรอลลดลง ผลทดสอบการย่อยสลายโดยการฝังในดินพบว่า ฟิล์มสามารถย่อยสลายได้ร้อย ละ 55 - 58 ในระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยแผ่นฟิล์มจะย่อยสลายได้เร็วขึ้นตาม ปริมาณกลีเซอรอลที่เพิ่มขึ้น จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าฟิล์มจากแป้ง สำปะหลังทั้ง 2 สายพันธุ์ เป็นฟิล์มธรรมชาติย่อยสลายได้เองโดยธรรมชาติ ซึ่ง ช่วยลดปริมาณขยะย่อยสลายยากได้อีกทางหนึ่ง
บทคัดย่อ (EN) :
คำสำคัญ (TH) :
คำสำคัญ (EN) :
ปีที่พิมพ์ :
2562
URL :
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> Click
<<<