งานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)

ข้อมูลงานวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics Research)

งานวิจัยส่วนท้องถิ่น
อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)
วรศักดิ์ เพชรวโรทัย และ นีรนุช ภู่สันติ
พฤติกรรมและจลนศาสตร์การเกิดผลึกของพอลิแลกไทด์ผ่านกระบวนการก่อ ผลึกแบบเนื้อผสมและการเสริมสภาพพลาสติก
พอลิแลกไทด์เป็นหนึ่งในวัสดุย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่นิยมนำมาใช้ทดแทน พลาสติกทั่วไปที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และตกค้างในสิ่งแวดล้อมกลายเป็น ปัญหาขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากขยะพลาสติกเหล่านี้ไม่ สามารถกำจัดได้ทันกับปริมาณที่ใช้ในแต่ละวัน พอลิแลกไทด์เป็นเทอร์โม- พลาสติกในกลุ่มพอลิเอสเทอร์ซึ่งได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์ มีสมบัติที่โดด เด่นหลายประการ เช่น สมบัติเชิงกลสูง มีความใส ขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม การยืดตัวได้น้อย ความเป็นผลึกตํ่า และอัตราการเกิด ผลึกช้า จำกัดการนำพอลิแลกไทด์ไปใช้งานด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงาน ด้านบรรจุภัณฑ์ ดังนั้น การศึกษาและทำความเข้าใจพฤติกรรมการเกิดผลึก สามารถช่วยให้ควบคุมปริมาณผลึกและปรับปรุงอัตราการเกิดผลึกของพอลิแลก ไทด์ได้ ซึ่งสามารถนำไปสู่การควบคุมสมบัติต่าง ๆ ตามที่ต้องการในแต่ละการ ประยุกต์ใช้งานได้ บทความนี้ได้รวบรวมงานวิจัยและองค์ความรู้พื้นฐานต่าง ๆ ของการเกิดผลึกของพอลิแลกไทด์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดผลึก ชนิดของสารก่อ ผลึกและสารเสริมสภาพพลาสติก กระบวนการก่อผลึก กระบวนการเสริมสภาพ พลาสติก รวมทั้ง การใช้งานร่วมกันของกระบวนการก่อผลึกและการเสริมสภาพ พลาสติก ซึ่งล้วนแล้วมีผลต่อจลน์ศาสตร์และพฤติกรรมการก่อผลึกของพอลิ- แลกไทด์
2559